ตอนแรกมีข่าวว่าหนัง Paper Towns จะไม่ได้ฉายในบ้านเรา เล่นเอาแฟนๆ ของสาวเท่ Cara Delevingne ช็อคกันไปชั่วขณะ และโวยวายกันไปข้ามวันข้ามคืน จนสุดท้ายค่ายหนังก็เอา Paper Towns มาฉายจนได้ แต่เข้าฉายแบบจำกัดโรงและจำกัดรอบแทน
จุดขายของหนัง Paper Towns นอกจากจะมีนางแบบสาวสุดฮอต Cara Delevingne เป็นนางเอกแล้ว Paper Towns ยังเป็นหนังเรื่องที่สองที่สร้างจากนิยาย YA (Young Adult) เรื่อง Paper Towns ของ John Green นักเขียนชื่อดัง ที่ปีที่แล้วประสบความสำเร็จกับ The Fault in Our Stars และปลุกปั้นพระนาง (Ansel Elgort กับ Shailene Woodley) ให้แจ้งเกิดกันมาแล้ว
ส่วนตัวบทภาพยนตร์ (Screenplay) นั้น เขียนโดย Scott Neustadter และ Michael H. Weber จาก The Fault in Our Stars และ (500) Days of Summer
เรื่องย่อ Paper Towns
“My miracle was this: out of all the houses in all the subdivisions in all of Florida, I ended up living next door to Margo Roth Spiegelman.”
หนุ่มเนิร์ด Quentin “Q” Jacobsen (Nat Wolff จาก The Fault in Our Stars) หลงรัก The girl next door หรือสาวข้างบ้าน Margo Roth Spiegelman (Cara Delevingne) มาตั้งแต่อายุ 9 ขวบ แต่ยิ่งโต ทั้งสองก็ยิ่งห่างเหินกันไป
พอขึ้นไฮสคูล Margo เป็นสาวป๊อปปูล่าร์ แฟนหนุ่มของเธอ Jase (Griffin Freeman) ก็มีดีกรีเป็นหนุ่มหล่อพ่อรวยและเป็นคนดังประจำโรงเรียน แก๊งเพื่อนสาวคนสนิทของเธอก็มีแต่สาวสวยๆ ฮอตๆ ไม่ว่าจะเป็น Lacey (Halston Sage จาก Neighbors) หรือ Becca (Caitlin Carver) ในขณะที่ Q กลายเป็นแค่คนรู้จักห่างๆ ที่อยู่นอกสารบบของ Margo คนที่คุยกับ Q มีแค่เพื่อนสนิทสองคนของเขาคือ Ben (Austin Abrams) และ Radar (Justice Smith) ซึ่งเป็น a wallflower ประจำโรงเรียนเช่นเดียวกัน
คืนหนึ่ง Margo ปีนขึ้นมาบนห้องของ Q และชวนออกไปช่วยทำภารกิจชำระแค้น Jase, Becca, และ Lacey กับ Chuck (RJ Shearer) ในข้อหานอกใจแฟน ข้อหาแย่งแฟนเพื่อน และข้อหาสมรู้ร่วมคิด ตามลำดับ คืนนั้นเป็นคืนที่ดีที่สุดในชีวิตของ Q และ Q ก็คาดหวังว่า มันจะเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างเขากับ Margo
แต่ปัญหาคือ หลังเสร็จสิ้นภารกิจ Margo หายตัวไป พ่อแม่ก็ไม่ออกตามหาแล้ว เพราะนางหนีออกจากบ้านครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 แล้ว อย่างไรก็ตาม Margo ทิ้ง clues ไว้ให้ Q ตามแกะรอยและสืบหาว่าเธอไปอยู่ไหน จน Q รู้ว่าเธอหนีไปอยู่ที่ Paper Town เมืองหนึ่งในนิวยอร์ก เขาจึงตัดสินใจขับรถหลายพันไมล์จาก Orlando, Florida ไป *Agloe, New York เพื่อไปบอกรัก Margo และตามเธอกลับมา
แน่นอนว่า Road Trip นี้ เพื่อนซี้อย่าง Ben กับ Radar ก็ไปกับเขาด้วย โดย Angela (Jaz Sinclair) แฟนสาวของ Radar ก็ตามไปด้วย พร้อมกับ Lacey คนสวยที่ขอติดรถไปช่วยตามเพื่อนรักกลับบ้านด้วยอีกคน แต่มีข้อแม้ว่าต้องกลับมาให้ทันปาร์ตี้งานพร็อมของโรงเรียน
*Agloe is "a fictitious village created by the Esso company in the early 1930s and inserted into tourist maps as a copyright trap, or paper town"
รีวิว วิเคราะห์ วิจารณ์ Paper Towns
เรารู้สึกดีมากที่ Paper Towns ไม่ใช่หนังดราม่าผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือเน้นประเด็นความรักโรแมนติกซาบซึ้งน้ำตาไหลอย่าง The Fault in Our Stars แต่เป็นหนัง coming-of-age สอนชีวิตวัยรุ่น ที่แฝงอะไรดีๆ ให้คนดูระหว่างการเดินทาง…มากกว่าที่คิด (แถมยังฮาแตกมากกว่าที่คิดอีกต่างหาก)
1. เส้นทางชีวิต
“Every moment of your life is lived for the future–you go to high school so you can go to college so you can get a good job so you can get a nice house so you can afford to send your kids to college so they can get a good job so they can get a nice house so they can afford to send their kids to college.”
คนส่วนใหญ่ทำอะไรตามแผนหรือ “Social Order” ที่ใครก็ไม่รู้วางไว้แต่บรรพกาล หลายคนก็ยึดติดอยู่ใน “กรอบ” หรือเส้นทางที่พ่อแม่ปูเอาไว้ เช่น เรียนจบไฮสคูล เรียนต่อมหาลัย จบมาทำงานดีๆ แต่งงานมีลูกมีหลาน บลาๆๆ และจะพยายามใช้ชีวิตอยู่แต่ใน “Comfort Zone” เท่านั้น เพราะเชื่อว่า มันจะทำให้ชีวิตของเขาสบาย ปลอดภัย ประสบความสำเร็จ มั่นคง หรือมีความสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
“College: getting in or not getting in. Trouble: getting in or not getting in. School: getting A’s or getting D’s. Career: having or not having. House: big or small, owning or renting. Money: having or not having. It’s all so boring.”
Margo Roth Spiegelman มองว่าชีวิตแบบนั้นมันไม่ใช่ชีวิต มันไม่ใช่การ “ใช้ชีวิต” จริงๆ เธอเบื่อกับการเป็นอยู่หรือทำอะไรตาม “สูตรสำเร็จ” ตามกระแสสังคม เธอมองว่า “แผนที่ชีวิต” นั้น คือ “กับดักชีวิต” มากกว่า ทำไมเราต้องคาดหวังว่าความสุขในอนาคตจะต้องเกิดจากการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเท่านั้น จนหลงลืมที่จะมีความสุขกับปัจจุบัน และหลงลืมที่จะเป็นตัวของตัวเอง หรือทำอะไรก็ตามที่ตัวเองอยากทำจริงๆ
“I’m a big believer in random capitalization. The rules of capitalization are so unfair to words in the middle.”
Margo ไม่ใช่ Grammarian เธอไม่ใช้ capitalization (ตัวใหญ่ตัวเล็ก) ตามหลักไวยากรณ์ เห็นได้ชัดว่าเธอไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์ เธอว่ากฎที่ว่าให้ใช้ตัวใหญ่แค่ตัวแรกของคำแรก หรือชื่อเฉพาะ เป็นเรื่องที่ไม่แฟร์กับคำตรงกลางในประโยค เธอจึงใช้ capitalization อย่างแรนดอม ไม่ใช่ถึงกับจะทำเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎ แต่ทำเพื่ออยากแตกต่างก็เท่านั้น
2. จุดหมายปลายทาง
“Margo always loved mysteries. And in everything that came afterward, I could never stop thinking that maybe she loved mysteries so much that she became one.”
Margo Roth Spiegelman เป็นตัวแทนของหนุ่มสาวชาวติสต์ ที่กล้าตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตและเป้าหมายในชีวิตที่แตกต่างจากคนหมู่แมส เธอเลือกที่จะเป็นตัวเอง ออกไปทำอะไรที่เธออยากทำ ออกไปหา “home” ที่แท้จริง ที่เหมาะกับเธอมากกว่า Orlando, Florida หรือที่ที่เธอจะสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ตามใจเธอ โดยเธอไม่สนใจสักนิดว่า การตัดสินใจดังกล่าวคือการที่เธอจะต้องทิ้งพ่อแม่ เพื่อน และชีวิตไฮสคูลปีสุดท้ายไปด้วย
ชีวิตของ Quentin “Q” Jacobsen ก็เช่นกัน นอกเหนือจากการเดินทางตามสูตรสำเร็จแล้ว Margo Roth Spiegelman เป็นอีกแค่หนึ่งสิ่งบนโลกเท่านั้นที่เขาสนใจเสมอมา ตอนที่ Margo หายไป เขายอมทิ้งการเรียนแสนสำคัญของเขาไว้ข้างหลัง และขโมยรถแม่ขับออกไปไกลแสนไกลเพื่อตามหาเธอ… คนที่ทั้งชีวิตแทบไม่เคยเห็นเขาอยู่ในสายตา
จริงๆ มันก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีพร้อมแทบทุกสิ่งอย่างแล้วก็ตาม พอถึงจุดจุดนึง คนคนนึงก็อาจจะกล้าพอที่จะทิ้งบางสิ่งบางอย่าง (หรือทุกๆ อย่าง) ที่มีอยู่ เพื่อออกไปไล่ล่าตามหาสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวที่เขาต้องการ หรือที่เขายังไม่เคยได้ไม่เคยมี โดยไม่แคร์ว่า ระหว่างทางที่เขากำลังพุ่งตรงไปที่จุดหมายปลายทางนั้น เขาจะต้องละเลย สูญเสีย หรือพลาดอะไรต่างๆ ในชีวิตไปบ้าง
ซึ่งจริงๆ แล้ว มันก็ใช่นะ…ที่อนาคตก็สำคัญ จุดหมายปลายทางก็สำคัญ แต่เราก็ไม่ควรลืมว่า “ปัจจุบัน” รวมถึง “ระหว่างทาง” และ “เพื่อนร่วมทาง” ก็สำคัญไม่แพ้กัน จริงมั้ย?
3. การเดินทาง
หลายคนอาจจะพยายามเป็นอะไรตามคนหมู่มากมากเกินไป หรือพยายามทำอะไรตามไอดอลมากเกินไป หรือพยายามทำตัวเองเพื่อให้คนรอบข้างพอใจมากเกินไป จนลืมที่จะเป็นตัวของตัวเอง หรือไม่รู้ตัวเองเลยว่าลึกๆ แล้ว ตัวตนที่แท้จริงของตัวเองนั้น เป็นอย่างไรกันแน่
ก่อนที่เราจะออกเดินทาง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการรู้จักตัวเอง เราจะได้รู้ว่า เราควรจะเดินทางด้วยวิธีอะไร (เช่น สมมติว่าเราเป็นคนชอบเที่ยวแบบ adventure หน่อย เราก็คงเลือกไปทริปเนปาล ไม่ใช่ทริปสิงคโปร์) จนไปถึงการตัดสินใจว่าจะไปที่ไหน และทิศทางไหน ไม่ใช่ว่าเดินสุ่มสี่สุ่มห้าตามคนอื่น จนลืมสำรวจตัวเอง เหนื่อยแทบเป็นแทบตาย สุดท้ายพอไปถึงยอดเขาแล้ว เพิ่งมารู้สึกตัวว่า นี่ไม่ใช่ตัวเอง นี่ไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองต้องการ
แต่ถ้าคุณเดินเส้นทางนั้นๆ มาเกือบครึ่งทาง หรือไกลเกินกว่าจะกู่กลับได้แล้วนั้น ก็ไม่เป็นไรนะ เพราะมันเป็นเรื่องปกติ ถ้าเราจะค้นหาตัวเองให้เจอ บางทีเราก็ต้องหลงทางก่อนที่จะได้ค้นพบตัวเองจริงๆ อย่างที่เขาว่า ถ้ายังไม่เคยลองทำหรือยังไม่เคยลองไป เราจะรู้ได้ยังไงว่ามันใช่หรือไม่ใช่ เราชอบหรือไม่ชอบ
ดังนั้น อย่าไปเสียดายเวลาหรือแรงกายที่เสียไปเลย มันไม่ได้เสียเปล่าซะทีเดียว อย่างน้อยระหว่างทาง… เราก็ยังได้พบเจออะไรที่เราไม่เคยพบเคยเห็น เราได้เรียนรู้ เราได้ประสบการณ์ แถมยังได้มิตรภาพมาเป็นรางวัลปลอบใจ อย่างเช่น นาย Q แอนด์เดอะแก๊ง เป็นต้นไง :)
4. เพื่อนเดินทาง
ในกลุ่มของ Margo Roth Spiegelman มีแต่คนคูลๆ ฮอตๆ ไปไหนมาไหน Margo ก็มีเพื่อนเยอะแยะมากมาย เธอเป็นมิตรกับคนทั่วไป และดูเหมือนจะได้รับการยอมรับจากทุกๆ คน เพราะเธอเป็นคนดัง ใครๆ ก็มองว่าเธอเจ๋ง เท่ และสวย แต่ Margo ก็รู้สึกว่าอยู่ตัวคนเดียวอยู่บ่อยๆ เธอมักรู้สึกว่า คนรอบข้างเธอไม่ใช่เพื่อนแท้ของเธอ หรือไม่ก็เหนื่อยเหลือเกินที่จะต้องพยายามเป็นเพื่อนกับทุกๆ คน
ในขณะที่ Quentin “Q” Jacobsen ซึ่งเป็นหนุ่มเนิร์ดเหมือนพระเอก The Perks of Being a Wallflower เรียนอย่างเดียว ไม่ทำกิจกรรม ไม่เข้าสังคม และเขามีคนสองคนบนโลกเท่านั้นที่เรียกว่า “เพื่อน” ได้อย่างเต็มปาก นั่นก็คือ Ben กับ Radar (และวันๆ ก็คบกันอยู่แค่ 3 คนแค่นี้) แต่เขาทั้งสามก็ดูสนิทกันจริง จริงใจต่อกัน ให้คำแนะนำปรึกษา และช่วยเหลือกันและกันมาแต่เล็กจนโต
Ben เป็นคนที่สังคมไม่คบหาเช่นเดียวกับ Q ทุกคนในโรงเรียนมองว่า Ben เป็นตัวตลก เป็นตัวประหลาด ถูกล้อมาตั้งแต่เด็กว่าชักว่าวเป็นเลือด จึงไม่มีสาวคนไหนยอมออกเดทกับเขา แต่เขาก็ไม่เคยลดละเลิกความพยายามดังกล่าว บ่อยครั้งที่เขามโนสร้าง “กิ๊กในจินตนาการ” ขึ้นมา เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ ว่าเขาก็มีดีได้แอ้มสาว แต่บางครั้ง การถูกสาวเมินมาทั้งชีวิตก็ทำให้เขามีปมด้อย และเป็น sexist โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว เขาชอบพูดจาหรือใช้ศัพท์แสงไม่ให้เกียรติเพศแม่ (เช่น เรียกแฟนสาวของ Radar ว่า “honeybunny”) และลวนลามผู้หญิงด้วยสายตาอยู่บ่อยๆ ทั้งที่ลึกๆ แล้วเขาไม่ใช่คนหื่นกามหรือแย่อะไรขนาดนั้น
ส่วน Radar ก็เพื่อนน้อย เพราะก็เวรี่เนิร์ดเช่นกัน เนิร์ดถึงขั้นคอยตามแก้ไขข้อมูลใน Omnictionary (หรือ Wiki นั่นแหละ) กันเลยทีเดียว เพราะ Radar เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับความรู้ วิชาการ ข้อมูล ตัวเลข ความถูกต้องแม่นยำ และสตริคต์กับแผนการต่างๆ มาก นอกจากนี้ Radar ก็เป็นคนผิวสี เขามีเชื้อชาติและสีผิวที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในโรงเรียน จึงเป็นตัวแทนของตัวละครที่เป็นคนชายขอบของเรื่องคนหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Radar ก็ไม่ได้มีแค่ Q กับ Ben เขายังมี Angela แฟนสาวผิวสีที่เขาเทิดทูนเหนือสิ่งอื่นใด
Radar เข้าใจกว่าใครๆ ในเรื่องว่า “เพื่อนแท้” คืออะไร เขารู้ว่าเขาทั้งสามคนมีคาแรกเตอร์ที่ชัด มีบุคลิก ลักษณะนิสัย ที่เหมือนและต่างกันมากมาย แต่สิ่งสำคัญคือการยอมรับและเข้าใจตัวตนของเพื่อน ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงเพื่อน เพื่อนกันไม่จำเป็นต้องคิด ทำ หรือเป็นอะไรเหมือนกันไปซะหมด (แน่นอนว่า #ความรักก็เช่นกัน)
การเข้าใจตัวตนและเหตุผลของกันและกันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ความสัมพันธ์ยั่งยืน อย่าง Ben กับ Radar ก็เข้าใจว่า Margo สำคัญกับ Q มากขนาดไหน พวกเขา respect และพร้อมจะซัพพอร์ตช่วย Q ออกตามหา Margo อย่างเต็มที่ แต่ทุกอย่างมันก็มีขีดจำกัด ถ้า Ben กับ Radar เข้าใจ Q แต่ Q ไม่เข้าใจ Ben กับ Radar เลย สนใจแต่จะตามหา Margo (Ben กับ Radar อยากไปงานพร็อม แต่ Q ไม่อยากไป) ความสัมพันธ์มันก็พังได้เช่นกัน
“You keep expecting people not to be themselves. I mean, I could hate you for being massively unpunctual and for never being interested in anything other than Margo Roth Spiegelman, and for, like, never asking me about how it’s going with my girlfriend – but I don’t give a shit, man, because you’re you.
My parents have a shit ton of black Santas, but that’s okay. They’re them.
I’m too obsessed with a reference website to answer my phone sometimes when my friends call, or my girlfriend. That’s okay, too. That’s me.
You like me anyway. And I like you. You’re funny, and you’re smart, and you may show up late, but you always show up eventually.”
5. Individuality / Identity
“Stop thinking Ben should be you, and he needs to stop thinking you should be him, and y’all just chill the hell out.”
จริงๆ แล้ว เท่าที่เธอแสดงออกให้โลกเห็น Margo Roth Spiegelman นี่มีคาแรกเตอร์แปลกๆ และซับซ้อนพอๆ กับชื่อของเธอเองนะ (ในขณะที่พระเอกของเรา ชื่อสั้นๆ เรียกง่ายๆ ว่า Q แค่พยางค์เดียวก็ได้) อย่างนามสกุลของเธอ “Spiegelman” ในภาษาเยอรมันแปลว่า “mirror maker” ซึ่งก็ตรงกับบทบาทของเธอในเรื่อง Paper Towns
Margo เป็นกระจกสะท้อนตัวละครอื่นๆ รอบตัวของเธอ อย่างที่เราจะเห็นว่าในเรื่องตัวละครต่างๆ ไม่ว่าจะตัว main และตัว minor พวกเขาต่างพูดถึง Margo ยังงั้น Margo ยังงี้ตลอด ซึ่งเวลาคนพวกนั้นพูดถึง Margo ไม่ว่าจะพูดแบบไหน มันก็สะท้อนให้เห็นตัวตนของคนที่พูดนั้นเช่นกันว่าเป็นคนยังไงเช่นกัน แต่ก็อย่างว่า Margo เป็นดาวเด่น ใครๆ ก็ต้องพูดถึง คาดหวังเธอ วาดภาพเธอ และคิดแทนเธอเป็นเรื่องปกติ
“IT IS NOT MY FAULT THAT MY PARENTS OWN THE WORLD’S LARGEST COLLECTION OF BLACK SANTAS.”
หนังพยายามใบ้คนดูตั้งแต่ฉากแรกๆ แล้วว่าธีมของหนังคือเรื่องของ “การตีกรอบตัวตน” ตอนต้นเรื่อง Radar เล่าให้ฟังว่า พ่อแม่ของเขา (ซึ่งก็เป็นคนผิวสี) obsessed มากว่าซานตาคลอสจะต้องเป็นคนผิวสี และสะสมซานต้าผิวสีไว้ในบ้านเป็นร้อยเป็นพันตัว ครั้งแรกที่เราฟัง เราอาจจะรู้สึกขำ แต่จริงๆ ซานต้าผิวสีนี่เป็นอีกหนึ่งการเปรียบเปรยที่ดีนะ ไม่ใช่แค่เรื่อง Racism หากแต่ยังเกี่ยวกับจินตนาการของมนุษย์ที่ชอบเหมารวมคนคนหนึ่งไปเรื่อยด้วย
จริงๆ ซานต้าเป็นบุคคลในจินตนาการ แต่ก็ไม่รู้ใครที่ไหนมาเริ่มปลูกฝังยัดเยียด perception ให้พวกเราแต่เล็กแต่น้อยว่า ลุงใจดีที่ขี่กวางมาแจกของขวัญในคืนวันคริสต์มาสจะต้องเป็นลุงผิวขาวอ้วนท้วมลงพุง จริงๆ เด็กมีสิทธิจะจินตนาการลุงแก่ใจดีว่าเป็นคนสูงต่ำดำขาวหรืออ้วนผอมแตกต่างกันไป ดังนั้น ความเชื่อว่าซานตาคลอสมีผิวสีจึงไม่ควรเป็นเรื่องตลก ล้อเลียน หรือน่าอับอาย
“What a treacherous thing to believe that a person is more than a person.”
ตอนที่ Margo เปรียบเทียบตัวเองหรือเมนชั่นคำว่า “Paper Girl ใน Paper Town” ครั้งแรก เรานึกถึงสมัยเด็กๆ ที่เราชอบเล่นตุ๊กตากระดาษ หรือแต่งตัวตุ๊กตานะ เหมือนตอนนั้นสนุกกับการเปลี่ยนเสื้อผ้าแปลงโฉมให้ตุ๊กตาของเราไปเรื่อยๆ ทั้งที่จริงๆ แล้วมันเป็นของเล่นที่ไม่มีอะไรเลย
ทุกวันนี้เราก็ยังสนุกกับการแต่งหน้าแต่งตัวไปหลากแบบหลากสไตล์ สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายช่วยเปลี่ยนบุคลิกเราได้ทันทีง่ายๆ เช่น แค่เปลี่ยนสีลิปสติก โทนก็เปลี่ยนไปทั้งหน้าแล้ว ซึ่งถ้าสังเกตจริงๆ เราไม่ได้แต่งตัวตามใจตัวเองเสมอไป เราต้องเปลี่ยนสไตล์หรือเปลี่ยนบุคลิกตามโอกาสหรือกาลเทศะเสมอไปด้วย อยู่ที่เราจะคงรักษาสไตล์เดิมหรือความเป็นตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ บ่อยครั้งเราก็แต่งตัวหรือเปลี่ยนบุคลิก เพื่อคนคนนึงหรือเพื่อคนหลายคนเช่นกัน (เอาง่ายๆ คือเปลี่ยนเพื่อคนอื่นนั่นแหละ)
“I was made of paper. I was the flimsy-foldable person, not everyone else.”
คำว่า Paper Girl ของ Margo อาจจะตีความประมาณที่กล่าวมาพารากราฟข้างต้น เธอสวย เธอเป็นไม้แขวนเสื้อ เธอถูกแต่งตัวโดยคนอื่น (เออ ประโยคนี้แอบคล้ายอาชีพจริงของ Cara Delevingne แฮะ) หรือคำว่า Paper Girl อาจจะเป็นคำเปรียบเปรย ของความเป็นมนุษย์ที่แบนราบ มีแค่สองมิติ แทนที่จะมีสามมิติ หรือมี multitudes อย่างที่ควรจะเป็น เธอคิดว่าคนคนนึงน่าจะเป็นได้ลึกมากกว่า “cool” หรือ “smart”
“Unscrew the locks from the doors!
Unscrew the doors themselves from their jambs”
Q มอง Margo แค่ด้านเดียว มิติเดียว เหมือน Paper Girl มาโดยตลอดโดยที่เขาไม่รู้ตัว เขาเพิ่งมารู้ว่า Margo ซับซ้อนกว่าที่คิด และเริ่มทำความรู้จักเธอก็ตอนที่มา investigate ตามหาเธอ
เพราะ clues ต่างๆ ที่ Margo เลือกทิ้งไว้ให้เขานั้น ล้วนสะท้อนความเป็นตัวตนของเธอทั้งสิ้น (โดยที่ตัว Margo เองก็อาจจะไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำ) ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ของนักดนตรีโฟล์คซอง Woody Guthrie (เขาเสียชีวิตที่นิวยอร์กด้วยวัยเพียง 55 ปี), เพลง Walt Whitman’s Niece, บทกวี Song of Myself ในหนังสือ Leaves of Grass ของ Walt Whitman, และโพรงใน Osprey ซึ่งเป็นห้างฯ ร้างแห่งหนึ่งใน Bartlesville Avenue
“YOU WILL GO TO THE PAPER TOWNS AND
YOU WILL NEVER COME BACK”
6. ไอดอล / ฮีโร่ / แรงบันดาลใจ
Paper Towns สื่อให้เห็นปัญหาของคนในสังคมที่ชอบคิดแทนหรือกำหนดให้คนอื่นเป็นยังงั้นยังงี้ อย่างเช่น Margo Roth Spiegelman ที่ใครๆ ก็มองว่าเธอ perfectly awesome (และ mysterious) ใครๆ ก็อยากเป็นเพื่อนและอยากเดทกับเธอ ทุกคนนิยมชมชอบเธอ ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเธอ แล้วที่หนักกว่านั้น คือเราไป idealize เขาว่าเขาจะต้องเลิศเลอเพอร์เฟ็กต์ จนเขากดดันหรือสูญเสียความเป็นตัวเอง
“Isn’t it also that on some fundamental level we find it difficult to understand that other people are human beings in the same way that we are? We idealize them as gods or dismiss them as animals.”
จะว่าไป Margo Roth Spiegelman เปรียบเสมือน Amy Dunne หรือ Amazing Amy ใน Gone Girl กล่าวคือ ผู้หญิงทั้งสองคนถูกคนอื่น label หรือตีตรา และคาดหวังว่าเป็น “cool girl” แล้วต่อมาต่างก็ GONE ไปทั้งคู่ ถึงแม้จะด้วยเหตุผลที่ต่างกัน
Amy หายตัวไป เพราะต้องการลงทัณฑ์สามี ส่วน Margo เบื่อการเป็น “Paper Girl ใน Paper Town” เธอเบื่อที่จะต้องพยายามทำตัวให้คนชอบหรือยอมรับ เธอไม่โอเคที่มีคนนิยมชมชอบเธอทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักเธอจริงๆ เธอจึงตัดสินใจโบยบินหนีไป… อาจจะเพราะเธออยากเรียกร้องความสนใจตามที่แม่เธอกล่าวว่า… หรือเธออาจจะค้นหาตัวเอง… หรือเธออาจจะออกไปเป็นตัวเอง…
(ซึ่งจริงๆ ตรงนี้เธอก็แอบเฉลยกับ Q ในตอนจบนะว่าหนีมาทำไม)
Quentin “Q” Jacobsen ชอบ Margo Roth Spiegelman ตั้งแต่เด็ก และชอบเสมอมา ถึงแม้จะไม่ได้คุยกันเลยจนอายุ 18 ปี ไม่ว่า Margo จะทำอะไรหรือจะเป็นยังไง เขาก็มองว่ามันเจ๋งไปเสียหมด เขายินดีมากที่จะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคูลๆ ของเธอทันทีที่เธอหยิบยื่นโอกาสให้
เขาก็เหมือนคนอื่นๆ ในโรงเรียนที่ “idolize” Margo เสมือนเป็น ideal object (แม้แต่ในฝันของเขา Margo ก็ยังปรากฏกายอย่างสวยงามราวกับเจ้าหญิงชุดแดง) จนกระทั่งเขาได้รู้จักเธอจริงๆ เขาถึงเพิ่งรู้ว่า เออ… จริงๆ แล้ว เธอก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นคนคนหนึ่ง ธรรมดา…
“Margo was not a miracle. She was not an adventure. She was not a fine and precious thing. She was a girl...”
เพื่อนสนิทของ Margo อย่าง Lacey ก็ถูก label ไม่ต่างกัน เวลาคนทั่วไปมองหรือนึกถึง Lacey สิ่งแรกที่เขาคิดคือ Lacey เป็นคนสวย ฮอต หุ่นเอ็กซ์สะบึ้ม ใครๆ ก็อยากเข้าหาเธอเพราะเธอเป็นดาวเจิดจรัส หรือไม่ก็หวังฟันเธอ น้อยคนมากที่เห็นคุณค่าอย่างอื่นของเธอ แทบไม่มีใครนิยามเธอว่า smart หรือ clever เลย ทั้งๆ ที่เธอก็เป็นคนเก่ง มีสมอง และสอบเข้ามหาวิทยาลัยท็อปๆ ได้เหมือนเด็กเนิร์ดคนอื่น
ซึ่งนั่นทำให้เราเริ่มเอะใจว่า ปัจจุบันวัยรุ่นต้องเป็นคนสวยหล่อหรือเท่ๆ คูลๆ อย่าง Margo, Lacey, หรือ Jase เท่านั้นหรือ คนทั่วไปถึงจะจดจำหรือให้ความสนใจ? ทำไมคนสวยหล่อเท่คูลจึงป๊อปปูล่าร์และได้รับการยอมรับเป็นไอดอลอย่างแพร่หลายมากกว่าพวกเนิร์ดๆ เก่งๆ? นั่นสิ… น่าคิด
7. การเติบโต
Margo อาจจะออกเดินทางมาแล้วหลายครั้งหลายรูท แต่ทุกครั้งคือการเดินทางเพื่อออกจากเมืองอันน่าเบื่ออย่าง Orlando, Florida ก็เท่านั้น เธอจึงยังไม่ค้นพบจุดที่พึงพอใจสักที เพราะจริงๆ แล้วเธอก็ยังไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางหรือความต้องการจริงๆ ของเธอคืออะไรกันแน่ ครั้งล่าสุดนี้เธอเลยเลือกไปเมือง Paper Town ที่ไม่มีอยู่จริง
ในขณะที่ Q ผู้มีความต้องการในชีวิตชัดเจนเสมอมา (ถึงแม้จะค่อนข้างตามสูตรสำเร็จ) กลับได้เรียนรู้และเติบโตอย่างมากกับ Road Trip ครั้งแรก (ซึ่งก็คือการออกมาตามหา Margo) เพราะเขามีเพื่อนร่วมทางคือเพื่อนสนิทของเขา และเขารู้จุดหมายปลายทางที่ชัดเจน นั่นก็คือ “Margo”
ถ้าเราสังเกต จะเห็นว่า Road Trip เป็นสัญลักษณ์ที่หนังฝรั่งหลายเรื่องชอบเอามาใช้สื่อถึงการเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงข้ามผ่านระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ เพราะปกติเวลาเราออกเดินทางไกลๆ เราไม่ได้ไปแค่สถานที่ใหม่ๆ แต่เรามักจะได้ไปพบเห็นสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้อะไรใหม่ๆ และกลับบ้านไปด้วยความรู้สึกที่ต่างจากตอนก่อนออกเดินทางด้วยเสมอๆ
แม้แต่คนที่เหมือนจะไม่เอาไหนที่สุดอย่าง Ben (เออ Ben นี่เป็นสีสันในหนังมากๆ เลยนะ ขโมยซีนมาก ว่าไม่ได้ มีเสน่ห์กว่าพระเอกอีก) ซึ่งตอนแรกตัดสินใจร่วมทริปด้วยเหตุผลโง่ๆ คือเพราะสาวสวยที่ตนหมายปองไปด้วยก็เท่านั้น สุดท้าย ระหว่างทริป Ben ก็ได้แสดงให้เพื่อนๆ รวมถึง Lacey ได้เห็นว่า เขาไม่ใช่แค่ไอ้กระจอกหรือพวกคิดถึงแต่เรื่องเซ็กส์ แต่ภายในของเขามีความดีงามและความเป็นสัตว์สังคมที่ดีไม่ด้อยไปกว่าคนที่มีเพื่อนมีสังคมเยอะๆ เสียอีก
จริงๆ แล้ว Ben ไม่ได้จู่ๆ มาโตทีเดียวตอน Road Trip หรอกนะ เขาค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่ตอนไปงานปาร์ตี้ที่บ้าน Jase แล้ว ปาร์ตี้นั้นเป็นปาร์ตี้ครั้งแรกของ Ben, Q, และ Radar (ทั้งๆ ที่ปาร์ตี้ควรจะเป็นเรื่องนับครั้งไม่ถ้วนสำหรับเด็กไฮสคูลปีสุดท้ายของที่นั่น) ทันทีที่พวกเขาก้าวเข้าไปในอาณาเขตประตูบ้านของ Jase ในคืนนั้น เขาได้ฝึกการเข้าสังคมและใช้ชีวิตอย่างเด็กวัยรุ่นอเมริกันทั่วไป โดยเฉพาะ Ben ที่เมาอ้วกลืมโลกและเอ็นจอยกับการเป็นส่วนหนึ่งในงานอย่างสุดเหวี่ยง (Q กับ Radar เหมือนเขาไปชิมบรรยากาศเฉยๆ)
ก่อนถูกเพื่อนรักลากตัวออกจากงาน Ben เอากระป๋องเบียร์จำนวนมากมาต่อกันเป็นดาบเหมือนดาบอัศวินเจไดใน Star Wars ซึ่งดาบนั้นเปรียบเสมือนของการเป็นเพศชายเต็มตัว เป็นการประกาศให้รู้ว่าเขาโตแล้วนะ เขาชนะการดื่มเบียร์เป็นแกลลอนๆ และกล้าที่จะบอกรักสาวจริงจังแล้วด้วยนะ (ถ้าไม่อ้วกต่อหน้าสาวเสียก่อนน่ะนะ)
8. เมืองกระดาษ
ครั้งแรกที่ Margo พูดคำว่า Paper Town กับ Q หลังทำภารกิจชำระแค้น ตอนนั้นเธอเหมือนจะเปรียบ Orlando, Florida ที่เธออยู่ว่าเป็นเมืองกระดาษ เพราะทุกอย่างดูเป็นแพตเทิร์นสมมติไปเสียหมด จนกระทั่งเธอหายตัวไป Q จึงได้เข้าใจว่า Paper Town ในความหมายของ Margo ตือเมืองที่ถูกมนุษย์เราสมมติขึ้น แล้วสุดท้ายก็ถูกละเลยเปล่าๆ ปลี้ๆ เหมือนกับ fictional town ในแผนที่ ที่มีจริงแค่ในแผนที่ แต่ไม่มีอยู่จริงบนโลกหรือท้องถนนจริงๆ
“It’s a shame, don’t you think? All the strings inside him broke.”
จริงๆ Margo ตั้งใจจะเรียนให้จบไฮสคูลก่อน แล้วค่อยออกมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ string เส้นสุดท้ายของเธอมันดันขาดเสียก่อน ทั้งนี้ string เป็นอุปมาของ Margo กับ Q กล่าวคือ ตอน Q กับ Margo อายุ 9 ขวบ พวกเขาเจอศพผู้ชายฆ่าตัวตาย ตอนนั้น Margo เปรียบเปรยว่า string เส้นสุดท้ายของชายคนนี้คงขาดสะบั้นลง ทำให้เขาไม่อยากอยู่ต่อบนโลกใบนี้แล้ว
สำหรับ Margo พอโตขึ้น เพื่อนเป็นเสมือน string เส้นสุดท้ายของเธอ (เชื่อว่าเส้น Family ของเธอน่าจะขาดไปนานแล้ว เธอไม่เห็นว่าบ้านที่มีพ่อแม่อยู่เป็นบ้าน เธอจึงอยากออกไปหาบ้านใหม่ของเธอเองนานแล้ว) แล้วพอเธอคิดว่าตัวเองถูกเพื่อนและแฟนหักหลัง string สุดท้ายเส้นนั้นมันก็ขาดลง เธอไม่มีเหตุผลที่จะอยู่ที่เมืองนี้ต่อไป อาจจะไม่ถึงกับฆ่าตัวตาย แต่เธอก็ต้องการเริ่มต้นใหม่ในที่แห่งใหม่สักที่ที่ไม่ใช่เมืองที่น่าเบื่อแห่งนี้
“The town was paper, but the memories were not.”
Margo เลือกไป fictional town หรือ Paper Town ซึ่งไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงเมืองที่ถูกคนเขียนแผนที่สร้างขึ้นมาปลอมๆ เพื่อเป็น copyright trap และป้องกัน pragiarism โดยเมืองกระดาษที่ Margo เลือกคือเมือง Agloe อยู่ใกล้ๆ กับเมือง Roscoe, New York
การที่ Margo เลือก fictional town ที่ตั้งอยู่ใน New York แสดงให้เห็นว่า จริงๆ แล้วเธอไม่ได้อยากอยู่คนเดียวหรอก อย่างที่รู้ๆ กัน นิวยอร์กโคตรเป็นเมืองที่วุ่นวายและเร่งรีบเลย แต่นิวยอร์กอาจจะเป็นเมืองที่เหมาะแก่การเริ่มต้นใหม่ เต็มไปด้วยโอกาส และจะช่วยให้เธอเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ตามเนื้อเพลงของ Alicia Keys ที่ร้องว่า…
“Concrete jungle where dreams are made of. There’s nothing you can’t do…… These streets will make you feel brand new. Big lights will inspire you…..”
9. รักแท้ หรือแค่หมกมุ่น
“Everything is uglier up close.”
Margo คิดเสมอมาว่า ทุกคนชอบเธอ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครรู้จักเธอ แม้แต่ Q หนุ่มข้างบ้าน ที่ชอบเธอตั้งแต่แรกเห็น และปัจจุบันก็ยังคงชอบอยู่ ทั้งๆ ที่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทั้งสองก็แทบไม่ได้คุยกันหรือใช้เวลาร่วมกันเลย
Margo พูดว่า “Everything is uglier up close.” แต่ Q ตอบกลับทันทีว่า “Not you.” มันทำให้ Margo รู้ว่า ที่ Q ยังชื่นชอบเธอ ก็เพราะ Q ยังไม่รู้จักตัวตนจริงๆ (หรืออยู่ใกล้เธอจริงๆ จังๆ) เขาถึงพูดแบบนั้น หรือต่อให้ Q บอกรักเธอจริงๆ เธอก็ไม่เชื่อว่ามันคือความรัก
เพราะเธอคิดว่าความรักต้องเกิดจากการรู้จักตัวตนที่แท้จริงของกันและกัน ซึ่ง Q ยังไม่รู้จักเธอจริงๆ เธอจึงเชื่อว่าความรู้สึกที่ Q มีต่อเธอนั้น มันไม่ใช่ความรัก มันเป็นเหมือนแฟนคลับคนนึงที่ชื่นชอบเธอก็เท่านั้น แต่ปัญหาคือ เธอไม่คิดว่าจะมีใครรักเธอจริง เพราะเธอคิดว่าไม่มีใครรู้จักเธอจริง… คนอื่นจะรู้จักเธอได้ยังไง ในเมื่อเธอยังไม่รู้จักตัวเองเลย (นั่นไง… ปิดกั้น)
“I barely even know her.”
บางคนอาจจะบอกว่า ถ้า Q ไม่รัก Margo จริง เขาไม่ยอมทิ้งอนาคตการเรียนสองวีคสุดท้ายที่โรงเรียน ขับรถไกลหลายร้อยไมล์ มาเพื่อตามหาเธอหรอก แต่ถ้าใครสังเกตดีๆ ในหนังเขาจะฉายฉากห้องเรียนคลาส English Litereature อยู่บ่อยๆ และในคลาส อาจารย์จะชอบพูดถึง Captain Ahab หรือนักล่าปลาวาฬในนิยายเรื่อง Moby-Dick
Moby-Dick เป็นสัญลักษณ์ หรือการอุปมาเปรียบเปรยตัว Q กับ Captain Ahab และเปรียบเปรย Margo กับ Moby-Dick ปลาวาฬสีขาวในนิยายเรื่องนั้น กล่าวคือ Q หมกมุ่นกับการตามหา Margo มากเกินไป เขาไล่ตาม Margo มาทั้งชีวิต ทั้งๆ ที่เขาไม่เข้าใจอะไร Margo เลย เช่นเดียวกับ Captain Ahab ตอนตามล่าเจ้าปลาวาฬตัวนั้น (แต่สุดท้ายกัปตันตายนะ พระเอกเราไม่ตายยยยย~)
White Whale = Something you obsess over to the point that it nearly or completely destroys you. An obsession that becomes your ultimate goal in life; one that your life now completely encircles and defines you. เช่น The desire to be thin became her white whale. Through diet pills, starvation, vomiting, and obsessive exercise, she was determined to be skinny.
ดังนั้น สิ่งที่ Q ทำเพื่อ Margo ทุกอย่าง มันไม่ใช่ “รักแท้” แต่มันเป็นแค่ “หมกมุ่น” และวันที่เขาได้รู้จักเธอจริงๆ เขาก็ได้เข้าใจเช่นกันว่า ตัวเขาเป็นยังไง ตัว Margo เป็นยังไง และเขากับเธอก็มีเส้นทางและจุดหมายปลายทางที่ต่างกันเกินไป… เกินกว่าจะรักกัน
แต่จริงๆ แล้ว เราว่า Margo ทำตัวเป็นศูนย์กลางของจักรวาลมากเกินไป… สนใจแต่ตัวเอง ไม่สนใจพ่อแม่ เพื่อน และไม่เคยให้ Q ได้พูดอะไรบ้างเลย… ไม่รู้สินะ… คหสต
Paper Towns ฉายแล้ว 27 ส.ค. เฉพาะ “บาง” โรงภาพยนตร์ (ตอนแรกมีแค่ Paragon Cineplex & SF World ต่อมาเพิ่มโรงที่ Quartier Cineart, Major สุขุมวิท, Embassy ด้วย)
หมายเหตุ
*** เนื่องจากตามบท Margo จะต้องหายตัวไป Cara Delevingne เลยจะไม่ออกซีนบ่อยอะไรมากมายนะ แฟนๆ อย่าคาดหวังมาก
** แต่ดารารับเชิญคือ กรี๊ดมาก ฟินมาก บอกเลย ><
89 comments
ชอบรีวิวของคุณเจ้าของบล็อคมากเลยค่ะ เราดูไปเราก็คิดเหมือนกันเลย (รวมทั้งคหสต.นั้นก็ด้วยค่ะ555) แต่คุณจขบ.วิเคราะห์ได้ละเอียดมาก บางจุดที่เราคิดไม่ออกเลยก็มีแต่ชอบตัวอย่างที่คุณยกมานะคะ มันตรงประเด็นและชวนให้คิดตามมากเลย ขอบคุณสำหรับรีวิวดีๆนะคะ XD
เรื่องนี้ผมชอบมากครับ รีวิวดีกว่าผมอีก ละเอียดมาก เป็หนังของ ไอ้เนร์ดเท่ๆ ที่หลงรักสาวลับๆ สุดท้ายก็ต้องมายืนในโลกความจริง