“Chinese people have a saying: when people get cancer, they die,”
The Farewell เป็นหนังที่สร้างจากคำโกหกที่เป็นเรื่องจริง (based on an actual lie) จากประสบการณ์จริงของ Lulu Wang ผู้กำกับและนักเขียนบทหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายจีน โดยเรื่องราวของเธอถูกถ่ายทอดผ่านตัวละครชื่อ Billi (รับบทโดย Awkwafina จาก Crazy Rich Asians และ Ocean’s Eight)

หลัก ๆ คือ หนังสื่อให้เห็นถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและกรอบความคิดของชาวตะวันตก (อเมริกัน) และตะวันออก (จีน) โดยเรื่องราวในเรื่องคือ อาม่า (Shuzhen Zhao) เป็นโรคมะเร็งระยะที่สี่และหมอวินิฉัยว่าอาจอยู่ได้อีกไม่ถึงสามเดือน
อาม่าเล็ก หรือน้องสาวของอาม่า (Hong Lu) ที่ไปรพ.ด้วยกัน ก็ไม่บอกผลตรวจนี้กับอาม่าใหญ่ ทุกคนในครอบครัวตกลงกันว่า จะไม่บอกเรื่องนี้กับอาม่า เพราะเป็นความเชื่อของคนจีน ซึ่งขัดกับแนวความคิดของคนอเมริกันสุดขั้ว โดยการกระทำแบบนี้ที่อเมริกาถือว่าผิดกฎหมายเลยทีเดียว
Billi รวมถึงพ่อแม่ของเธอ (Tzi Ma และ Diana Lin) ซึ่งใช้ชีวิตอยู่นิวยอร์กมากว่า 25 ปีจนได้เป็น American citizen ย่อมไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของครอบครัวและขนบของชาวจีน โดยเฉพาะคุณลุง (Yongbo Jiang) ซึ่งเป็นพี่ชายของพ่อ ถึงแม้ครอบครัวของลุงจะไปอยู่ญี่ปุ่นนานหลายปี แต่ก็ยังมีค่านิยมและความคิดแบบตะวันออกอยู่มาก
เพื่อที่ให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวมารวมตัวกันที่บ้านอาม่าที่ Changchun ก่อนที่อาม่าจะจากไป พวกเขาก็ตกลงกันว่าจะจัดงานแต่งงานให้ Hao Hao (Han Chen) ลูกชายของลุงของ Billi แต่งกับแฟนสาวชาวญี่ปุ่นของเขา Aiko (Aoi Mizuhara) ซึ่งเพิ่งคบกันได้แค่ 3 เดือน
/cdn.vox-cdn.com/uploads/chorus_image/image/64751961/TheFarewellGroupTableNoCrop.0.jpg?w=1160&ssl=1)
เราชอบที่หนังนำเสนอวัฒนธรรมของจีนอย่างเป็นกลาง คือเหมือนยื่น fact โชว์ fact ให้คนดู และให้เห็นว่ามันมีความ contrast กันระหว่างวัฒนธรรมจากสองซีกโลก ซึ่งก็เปิดกว้างให้คนดูตัดสินเองว่าคิดเห็นเป็นแบบไหน หนังไม่ได้ชี้นำว่าอันไหนถูกอันไหนผิด อันไหนดีกว่าแบบไหน แต่มันแค่ different กัน และแต่ละความคิดเค้าก็มีเหตุผลซัพพอร์ตของใครของมัน
Billi ที่ถึงแม้รูปลักษณ์ภายนอกจะเป็นเอเชียอย่างชัดเจน แต่ความคิดและอะไรหลาย ๆ อย่างที่กำหนด identity ของเธอ รวมถึงภาษาพูด เธอก็มีความเป็นอเมริกันมากกว่าเป็นจีนเสียอีก คนที่ยืนอยู่ระหว่างสองวัฒนธรรมอย่างเธอต้องพยายามบาลานซ์และหาตรงกลางของมันให้เจอ เพื่อที่จะรักษาความ individual เอาไว้ โดยที่ไม่เสียความเป็น family หรือ community ของเธอด้วย
จะเห็นได้ว่า บท Billi ของ Awkwafina มีความซับซ้อนอย่างมาก เช่น ต้องปั้นหน้ายิ้มหัวเราะทั้งที่ข้างในโคตรจะเศร้าและเป็นกังวล แล้ว Awkwafina แสดงออกมาได้ดีมาก ต้องบอกว่าเซอร์ไพรส์เลยแหละ เพราะปกติเราคุ้นเคยกับเธอในบทบาทของแรปเปอร์ และนักแสดงสายฮาจาก Crazy Rich Asians และ Ocean’s Eight แต่ใน The Farewell นี้ ก็พิสูจน์แล้วว่าเธอเล่นดราม่าได้ลึก และคู่ควรแก่การเข้าชิงรางวัลนำหญิงยอดเยี่ยมในเวทีใหญ่
เราชอบมู้ดแอนด์โทนในหนัง มันมีความดูไปได้เรื่อย ๆ เหมือนดูชีวิตของคนคนหนึ่ง หรือชีวิตของครอบครัวครอบครัวหนึ่ง อารมณ์เหมือนดูเรียลลิตี้ เพราะมันสร้างมาจากเรื่องจริงของหลายครอบครัวเชื้อสายจีน ซึ่งคนไทยอย่างพวกเราจะรู้สึก relate ได้ไม่ยาก เพราะคนไทยหลายคนก็มีเชื้อสายจีน และมีวัฒนธรรมหลาย ๆ อย่างที่คล้ายจีน เช่น การเป็นครอบครัวใหญ่ หรือการกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา (ซึ่งในวงกับข้าว ก็อาจจะมีการคุยข่มนี่นั่นกันตามประสาแม่ ๆ)
โดยส่วนตัวเรามีเชื้อสายจีนอยู่บ้างนะ แต่ไม่ได้ถูกเลี้ยงและโตมาแบบจีนจ๋าอะไร เพราะคุณปู่ซึ่งเป็นคนจีนแท้ ๆ เสียตั้งแต่ก่อนเราเกิด และเราก็ไม่ค่อยได้โตมาแบบผูกพันกับผู้เฒ่าผู้แก่ (เช่น ปู่ย่าตายาย) มากมายอะไร เราจึงไม่ค่อยมีอารมณ์ซึ้งหรือเศร้าอะไรกับหนังเท่าไหร่ สำหรับเรา เราว่าเรา consider ว่า The Farewell เป็นหนังตลก(ร้าย)มากกว่าจะเป็นหนังดราม่าหรือหนังเศร้า
ถึงแม้จะไม่เข้าใจการกระทำหรือความคิดของตัวละครจีนบางอย่างในหนัง แต่ที่เราเข้าใจและเก๊ตฟีลสุด ๆ เลยก็คือ วัฒนธรรมการโกหกขาว (White lie) หรือการโกหกเพื่อให้อีกฝ่ายสบายใจ เช่น Billi ที่เฟลที่ไม่ได้ทุน แต่ยังไม่บอกใคร แสร้งว่าปกติ ใครถามก็บอก “ไม่เป็นไร” เพราะไม่อยากให้ใครมาเป็นห่วง แล้วในหนังเรื่องนี้มันมีการโกหกเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งวัน ทุกวัน ทั้งเรื่อง เออ… มันคือตลกร้ายอย่างหนึ่ง… และชีวิตเรามันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
คะแนนตามความชอบส่วนตัว 7.5/10
118 comments
Comments are closed.