“จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากความเป็นส่
วนตัวของเราหายไป”
Anon (กรุณาพยายามอย่าอ่านว่า “อานนท์”) เป็นอีกครั้งที่ Andrew Niccol ผู้กำกับผู้มีจินตนาการสุดล้ำในการเนรมิตโลกอนาคต เสนอคำถามที่ชาญฉล
สำหรับ Anon โดยส่วนตัวคิดว่าพล็อตหรือไอเดียล้ำกว่า In Time แต่เราชอบของ In Time มากกว่า (งงมะ 555) อีกอย่างนึง Anon ค่อนข้างดำเนินเรื่องนิ่ง ๆ บรรยากาศในหนังมันนิ่งไปหมด ดูไฮแฟชั่น ตรงกันข้ามกับ In Time ที่เล่นกับเรื่องเวลา มันเลยอะดรีนาลีนพุ่งกว่า ทริลเลอร์กว่า ลุ้นกว่า แมสกว่า แต่เอาเป็นว่าก็สนุกกันคนละแบบ
ตัวเอกของเรื่อง Anon คือ Sal Frieland (Clive Owen ผู้เข้าชิงออสการ์จาก Closer) เป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนระดับสูง แต่เทคโนโลยีข้อมูล The Ether ทำให้งานของเขาเป็นแค่งานนั่งโต๊ะหรืองานกระดาษ ไม่ได้สายลุยหรือสายบู๊ลงพื้นที่ ประกอบกับชีวิตครอบครัวที่ล้มเหลวของเขา ทำให้ชีวิตของเขาค่อนข้างน่าเบื่อและหงอยเหงา จนกระทั่งวันนึงเขาเจอคดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่คนร้ายแฮคระบบ The Ether แทรกแซงการมองเห็น และดัดแปลงบันทึกของเหยื่อ ทำให้ไม่สามารถเห็นได้ว่าใครคือฆาตกร
วันนึง Sal ได้พบกับหญิงสาวนิรนาม (Amanda Seyfried จาก In Time) ที่ระบบไม่สามารถระบุ identity ของเธอได้ เขาสืบพบว่าเธอเป็นแฮคเกอร์ ระดับเทพ มีคนดัง ๆ รวย ๆ จ้างเธอลบความลับหรือเรื่องแย่ ๆ ที่คนเหล่านั้นทำไว้แล้วไม่อยากให้ใครรู้ (เช่น ซื้อยา หรือซื้อบริการ) โดยเธอรับเงินค่าจ้างเป็นเงินสดเท่านั้น และเขาก็เชื่อว่าเธอจะต้องเป็นเบาะแสชิ้นสำคัญของคดีนี้
ใน Anon เรื่องนี้ ผู้กำกับเสนอคำถาม “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากความเป็นส่
บางคนอาจเคยได้ยินเรื่องของ Egor Tsvetkov ช่างภาพชาวรัสเซียที่ทำการทดลอง เมื่อปี 2016 กับโปรเจ็กต์ชื่อ “Your Face Is Big Data” โดยการถ่ายภาพคนแปลกหน้าที่สถานีรถไฟใต้ดิน และใช้แอปฯ FindFace (แอปฯ สำหรับระบุเจ้าของใบหน้าในรูปถ่าย) เพื่อหาข้อมูลของคนเหล่านั้นท่ามกลางผู้ใช้งานกว่า 55 ล้านคนบน VKontakte (แอปฯ social network ของรัสเซีย) ผลปรากฏว่า เขาสามารถระบุ identity ของคนเหล่านั้นได้ถึง 70% ในเวลา 6 สัปดาห์
แต่โลกอนาคตอันใกล้ของ Andrew Niccol ใน Anon นั้น คนเราไม่ต้องพึ่งแอปฯ และไม่ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ในการหาข้อมูลหรือตัวตนของใครก็ตาม หากแต่ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีทันทีที่ตาเห็น แถมทุกอย่างที่ตาเห็นจะถูกบันทึกเข้าสมองทันทีเหมือนคอมพิวเตอร์หรือคลังวิดีโอใน YouTube ซึ่งเราสามารถแชร์ภาพหรือข้อมูลนั้นให้กันและกันได้ทันทีเพียงกะพริบตา ซึ่งหมายความว่า เราจะไม่มีความเป็น
หรือพูดอีกอย่างให้ดูมีหลักการคือ ในโลกอนาคตนี้ ทุกคนจะต้องถูกฝัง biosyn computer หรือ The Mind’s Eye ที่จะบันทึกทุกกิจกรรมในชีวิตเหมือนวิดีโอ ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกอัพโหลดลงบน
ถึงแม้คนธรรมดาจะเข้าถึง database เพื่อสแกนดูบันทึกความทรงจำของคนอื่น ๆ ไม่ได้โดยตรง แต่ The Mind’s Eye เป็นเทคโนโลยีที่คล้ายกับแอปฯ FindFace ที่กล่าวไปข้างต้น คือแค่เรามองคนคนนี้ เราจะรู้ทันทีว่าเขาชื่ออะไร อายุเท่าไหร่ และทำอาชีพอะไร หรือเวลาไปร้านค้า เราแค่มองสินค้า เราก็จะเห็นทันทีว่ามันคืออะไร ดีเทลอย่างไร และราคาเท่าไหร่ การซื้อขายตัดเงินก็ทำธุรกรรมผ่าน The Mind’s Eye ได้เลยเช่นกัน ป้ายโฆษณาหรือป้ายชื่อร้านก็เป็นแบบ digital หมด — อืม… มันก็มีทั้งดีและไม่ดี ว่ามั้ย?
ความตื่นตาตื่นใจในช่วงต้นเรื่องคือ ผู้ชมจะมีโอกาสได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ พร้อมข้อมูลเหล่านั้นอย่างที่ตัวละครหลักเห็น มันเป็นประสบการณ์ที่ค่อนข้างแปลกใหม่ ตอนแรก ๆ เราต้องปรับตัวนิดหน่อย (อารมณ์อาจจะเหมือนคุณพื่หมื่นทะลุอนาคตมาโผล่ในยุคปัจจุบันของเกศสุรางค์เป็นครั้งแรก) แต่เราก็รู้สึกว่า “ว้าว! โคตรเจ๋ง” โดยที่ ณ ขณะนั้น ก็ยังไม่ได้ตระหนักหรอกว่า ถ้าชีวิตจริงเราต้องอยู่แบบนั้นจริง ๆ เราจะสนุกกับมันจริง ๆ หรือ
สิ่งที่น่ากลัวคือ ความทรงจำของเรามันเป็นข้อมูลเหมือนไฟล์วิดีโอ ซึ่งแชร์ได้ หายได้ ถูกทำลายได้ และถูกขโมยได้ รวมถึง ถูกแก้ไข ดัดแปลง หรือตัดต่อได้ด้วย จนเราไม่สามารถเชื่อทุกสิ่งที่ตาเราเห็นได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ดี เบื้องต้นเราจะค้นพบว่าตัวเองให้ความสำคัญกับประเด็นการปกปิดความลับหรือป้องกันข้อมูลส่วนตัวมากไป กลัวว่าเขาจะมาดัดแปลงหรือล่วงรู้มัน บลา ๆ ๆ จนลืมสิ่งที่สำคัญกว่านั้น นั่นคือ ความทรงจำที่ดี ที่ลึก ๆ แล้วเราหวงแหนมันมากกว่าสิ่งใด และช่วยต่อลมหายใจได้ในทุกครั้งที่เราดึงช่วงเวลาดี ๆ นั้นกลับมาดูซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความทรงจำนั้นเป็นสิ่งเดียวที่เราเหลืออยู่จากคนรักที่เขาไม่อยู่กับเราแล้ว (ใครนึกไม่ออก นึกภาพไททานิคที่ป้าโรสไม่มีรูปลุงแจ๊ค)
Anon เข้าฉาย 10 พ.ค. 2018 ในโรงภาพยนตร์
คะแนนตามความชอบส่วนตัว 7.5/10
24 comments
Comments are closed.