💡 Book Title — Building a Second Brain: A Proven Method to Organize Your Digital Life and Unlock Your Creative Potential Author — Tiago Forte Description: จัดระเบียบชีวิตดิจิทัล เคลียร์พื้นที่สมอง ปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์ 📌 พิกัดหนังสือ https://s.shopee.co.th/8znpEFUDE6
การสร้างสมองที่สอง
- การสร้างสมองที่สอง (Building a Second Brain) จะช่วยจัดระเบียบความรู้และเก็บบันทึกความคิดให้ค้นเจอได้ง่าย นำมาใช้งานจริงได้สะดวก ลดความกังวล และมีเวลามากขึ้นสำหรับสร้างสรรค์ผลงาน โดยการช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นรูปธรรม ช่วยเผยรูปแบบความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ระหว่างความคิด ช่วยบ่มเพาะหรือเคี่ยวความคิดจนตกผลึก และช่วยลับมุมมองให้เฉียบคมขึ้น
- สมองที่สองเกิดจากการเขียนและการจดบันทึกต่าง ๆ แต่หนังสือเล่มนี้โฟกัสที่การใช้ “เทคโนโลยี” จัดเก็บรวบรวมความรู้ ความคิด และความทรงจำต่าง ๆ ไว้ใน “คลังข้อมูลดิจิตัล” ที่เดียวกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น Notion, Evernote, Google Keep, Microsoft OneNote, Apple Notes ฯลฯ และมุ่งเน้นการจดบันทึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพิ่ม productivity และ creativity
💡 โดยส่วนตัว เราใช้ Notion เป็นหลัก และเราก็ได้เคยทำคลิป IG Reel สอนการเริ่มต้นใช้ Notion แบบสั้น ๆ เอาไว้บน IG ส่วนตัว (IG @kwanmanie) ของเราด้วยค่ะ
การจดบันทึกแบบ CODE และการจัดเก็บข้อมูลแบบ PARA
- เทคนิคจดบันทึกแบบ CODE: Capture + Organize + Distill + Express
ซึ่งสองขั้นตอนแรกเป็น divergence และสองขั้นตอนหลังเป็น convergence- Capture: เลือกบริโภคและเก็บข้อมูลเฉพาะที่เพิ่มคุณค่าให้ชีวิต
- เลือกเก็บเฉพาะข้อมูลที่เราสนใจ สงสัย หรือประหลาดใจ มีประโยชน์ สร้างแรงบันดาลใจ เกี่ยวกับตัวเรา มีศักยภาพในการเปลี่ยนเราได้หรือนำพาไปสู่อะไรใหม่ ๆ
- ลองใช้มุมมองแบบภัณฑารักษ์
- เลือกเก็บเฉพาะบางข้อความ หรือไม่เกิน 10% ของต้นฉบับ อย่าเก็บทั้งบท แล้วแนบ source กับ title ไว้
- Organize: จัดระเบียบแบบเน้นการใช้งานหรือตามโปรเจ็กต์
- ระบบจัดข้อมูลแบบ PARA* คือการจัดข้อมูลหลักเป็น 4 โฟลเดอร์ตาม 4 หมวดในชีวิต: Project, Area, Resource, และ Archive (ดูตัวอย่างการเริ่มสร้าง PARA DASHBOARD บน NOTION ของเราได้ที่รูปประกอบด้านล่าง)
- เมื่อได้ข้อมูลมา พิจารณาก่อนว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อ Project (โครงการหรือภารกิจระยะสั้นที่กำลังอยู่ ณ ตอนนี้ มักมีเดดไลน์หรือสโคปเวลา) ไหนมากที่สุด หรือถ้าข้อมูลไม่เกี่ยวกับ Project ใดใดตอนนี้ ก็เก็บไว้ก่อนที่ Area (พื้นที่ที่รับผิดชอบระยะยาว เช่น การเงิน สุขภาพ ครอบครัว) หรือ Resource (สิ่งที่น่าสนใจ ยังไม่ใช้ช่วงนี้ แต่อาจเป็นประโยชน์ในอนาคต เปรียบเสมือนห้องสมุด)
- เมื่อทำ Project จบแล้ว บันทึกหรือข้อมูลบางอย่างก็อาจไม่ต้องใช้แล้ว เราก็ย้ายไปโฟลเดอร์ Archive ซึ่งช่วยให้โฟลเดอร์ที่ต้องใช้งานมันไม่รก แต่ก็ดึงข้อมูลในนี้กลับมาใช้งานได้ทุกเมื่อที่ต้องการ (ต่างจาก Trash ซึ่งเป็นการลบถาวร)
- เราอาจสร้างโฟลเดอร์ Inbox หรือกล่องขาเข้าไว้อีกอัน สำหรับหย่อนข้อมูลใหม่ ๆ มาเก็บไว้ แล้วค่อยมาทบทวนหรือจัดหมวดหมู่ PARA อีกทีภายหลัง (อาจจัดการอาทิตย์ละครั้ง)
- ค่อย ๆ ทำงานไปจัดไปก็ได้ และเน้นประโยชน์ใช้สอยและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา ไม่ต้องทุ่มพลังเยอะหรือพยายามให้สมบูรณ์แบบเป็นสารานุกรม
- (ดูตัวอย่างการเริ่มสร้าง PARA DASHBOARD บน NOTION ของเราได้ที่รูปประกอบด้านล่าง)
- อ่านต่อ สรุปหนังสือ The PARA Method >> https://www.kwanmanie.com/the-para-method-book-summary/
- ระบบจัดข้อมูลแบบ PARA* คือการจัดข้อมูลหลักเป็น 4 โฟลเดอร์ตาม 4 หมวดในชีวิต: Project, Area, Resource, และ Archive (ดูตัวอย่างการเริ่มสร้าง PARA DASHBOARD บน NOTION ของเราได้ที่รูปประกอบด้านล่าง)
- Distill: กลั่นกรองหาแก่นสำคัญ แพทเทิร์น และความเชื่อมโยง
- นำข้อมูลที่เก็บไว้มากลั่นกรอง สรุปสาระสำคัญ โดยการทำ progressive summarization หรือทำ annotation เพื่อให้ข้อมูลสามารถถูกค้นหาและนำไปใช้งานได้ง่ายได้ไวในอนาคต
- Express: นำเสนอหรือแบ่งปันสู่ผู้อื่น
- นำสิ่งที่มีอยู่มาเรียบเรียงใหม่ (จดจำ >> เชื่อมโยง >> สร้างสรรค์)
- เน้นสร้างกลุ่มงานระหว่างทางไปเรื่อย ๆ (อย่ารอวันที่เพอร์เฟ็กต์)
- ความรู้ไม่มีประโยชน์ถ้าเราไม่ใช้และไม่แบ่งปันให้ผู้อื่น
- Capture: เลือกบริโภคและเก็บข้อมูลเฉพาะที่เพิ่มคุณค่าให้ชีวิต
- สามกลยุทธ์เพื่อการทำงานสร้างสรรค์
- หมู่เกาะไอเดีย เปรียบเสมือนการวางโครงร่าง เป็นการเตรียมประเด็นต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาลงมือทำจริง ก็แค่นำมาร้อยเรียงกัน โดยเริ่มจากการคัดเลือกประเด็นและแนวคิดที่อยากใส่ลงไปในโครงร่าง แล้วต่อมาก็ค่อยจัดเรียงตาม logical order
- สะพานเฮมิงเวย์ คือการจบงานของวันนี้โดยมีจุดเริ่มต้นของวันหน้าไว้ในใจ เวลาที่เรากำลังจะจบงานวันนี้ ให้เผื่อเวลา 2-3 นาทีสุดท้ายไว้จดไอเดียสำหรับขั้นต่อไป จดสถานะปัจจุบัน จดเป้าหมายสำหรับงานครั้งหน้า ฯลฯ
- ลดขอบข่ายงานแทนที่จะชะลอหรือเลื่อน เช่น ถ้าการออกหนังสือ 1 เล่มมันยุ่งยากหรือยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับ ณ ตอนนี้ ก็อาจลด scope ลงเป็นเขียนบทความ 2-3 ชิ้นก่อน ฟีลลิ่งที่เราได้จากความสำเร็จเล็ก ๆ อย่างเป็นรูปธรรมในวันนี้ บวกกับคำติชม จะเป็นประโยชน์ในชิ้นงานใหญ่ ๆ หรืองานหน้า ๆ ต่อไป ดีกว่าไม่มีอะไรลุล่วงสักอย่างเลย
- อุปนิสัยสำคัญของนักจัดระเบียบข้อมูลดิจิทัล
- Create checklist สำหรับตอนเริ่มและตอนจบโครงการ (คล้ายนักบินก่อน take off)
- Keep monthly and weekly review เช่น ทบทวนข้อมูลขาเข้าและจัดแยกโฟลเดอร์ PARA หรือทบทวนอัพเดทโปรเจ็กต์
- ช่างสังเกต
- จุดอ่อนของการใช้แท็ก (tags)
- ปัจจุบันระบบโน้ตแบบดิจิทัลสามารถค้นหา content ใดใดเพียงแค่ search “คำ” ใดใดคำเดียวได้แล้ว ดังนั้นระบบ tags ที่ติดแท็กคำเยอะ ๆ (เช่น ทำสวน เมนูซุป ขนส่งสาธารณะ ฯลฯ) แทบไม่จำเป็น
- แต่ถ้าจะใช้ tags ก็อาจใช้ในการ track หรือติดตาม progress หรือ workflow (เช่น planned / in process / on hold / finished) ติด tags ตามการใช้งาน (เช่น source / evidence / question / presentation)
- Tags ควรมีน้อยที่สุด เคลียร์ที่สุด หรือไม่ต้องมีเลยก็ได้
- สรุป หากจะเริ่มต้นการสร้างสมองที่สอง ให้เริ่มทำความเข้าใจกับเทคนิค CODE และเริ่มจัดระเบียบข้อมูลด้วยระบบ PARA ข้างต้น (ซึ่งเราใช้ NOTION เป็นหลัก)
คลิกเพื่อดาวน์โหลด Notion หรือคลิกเพื่อดาวน์โหลด Notion PARA Templates
- พอมีข้อมูลประมาณหนึ่งแล้วก็เริ่มครีเอทผลงานด้วยกลยุทธอย่างหมู่เกาะไอเดียและสะพานเฮมิงเวย์ ที่สำคัญ เราต้องหมั่นทบทวนข้อมูลที่จดบันทึกไว้และมีการนำมาแปรรูปเป็นผลงานของเราจริง ๆ หรือแบ่งปันให้กับผู้อื่น ความรู้นั้นจึงจะเกิดประโยชน์และเราก็จะเกิดการพัฒนาจริง ๆ
📌 พิกัดหนังสือ https://s.shopee.co.th/8znpEFUDE6