Carol หนังหญิงรักหญิง ดัดแปลงจากนิยายเรื่อง The Price of Salt ของ Patricia Highsmith ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1952 โดยหนังเข้าชิงลูกโลกทองคำ 5 สาขา และออสการ์อีก 6 สาขา
ซึ่งนักแสดงนำทั้งสอง Cate Blanchett และ Rooney Mara ต่างก็เจิดจรัสเปล่งประกายฝีมื
เรื่องย่อ Carol
ในขณะที่กำลังหาซื้อของขวัญวันคริสต์มาสให้ลูกสาววัย 4 ขวบในห้างสรรพสินค้า Carol Aird (Cate Blanchett จาก Blue Jasmine, The Lord of the Rings, Cinderella) ได้พบกับ Therese Belivet (Rooney Mara จาก The Girl with the Dragon Tattoo, Pan) ที่แผนกของเล่นเด็ก ที่ Therese ทำงานอยู่ ทั้งสองสปาร์คกันและนัดเจอกันหลังจากวันนั้น
Carol กำลังจะหย่ากับ Harge Aird (Kyle Chandler) เพราะเธอถูกจับได้ว่ามีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับเพื่อนสาว Abby Gerhard (Sarah Paulson) โดย Harge ยื่นเรื่องต่อทนายว่า สิทธิในการเลี้ยงดูบุตรสาวจะต้องเป็นของเขาแต่ผู้เดียวและห้าม Carol มาพบเจอลูกอีกเป็นอันขาด
ระหว่างรอการไต่สวน Carol ชวน Therese หนีความวุ่นวายไปออก Road Trip ด้วยกัน ซึ่ง Therese ก็ตัดสินใจไปกับ Carol จนถึงขั้นตัดขาดกับ Richard แฟนหนุ่มของเธอ (Jake Lacy) ระหว่าง Road Trip นั้น ความรู้สึกของทั้งสองก็ค่อยๆ เติบโตพัฒนาขึ้น
ความสัมพันธ์ที่สังคมไม่เข้าใจระหว่าง “เธอ” ทั้งสองจะเป็นอย่างไร และ Carol จะได้ลูกสาวสุดที่รักคืนมาหรือไม่ ติดตามเรื่องราวเต็มๆ ได้ใน Carol
รีวิว วิเคราะห์ วิจารณ์ Carol
Carol ไม่ใช่หนังเลสเบี้ยนอล่างฉ่าง หากแต่เป็นหนังเกี่ยวกับความรักของคนคู่หนึ่งทั่วไป (หรือหลายคู่หลายเส้าก็ว่าได้) ที่มีทั้งความหวานอมขมกลืน ที่สะท้อนสังคมในยุค 1950s ที่คนหมู่มากยังไม่ยอมรับ same-sex relationship หรือแม้แต่ผู้หญิงเองก็ยังไม่ได้รับการปฏิบัติต่อในหลายๆ ด้านทัดเทียมผู้ชาย
แค่ปี 2015 ที่ผ่านมาปีเดียว เราได้ดูหนังพลังหญิงหรือพลัง LGBTs มากว่านับไม่ถ้วน ตอนแรกก็คิดนะว่า Carol ก็คงเป็นหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้สังคมเห็นอกเห็นใจความรักแบบ “ชาย-ชาย, หญิง-หญิง” หรือปลุกระดมให้ผู้หญิงกับเพศที่สามลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อการเป็นตัวเอง แต่เปล่าเลย… Carol เลือกนำเสนอและเล่าเรื่องของผู้หญิงในอีกแบบออกไป ซึ่งเราว่ามันไม่จำเจ
ฉากต้นเรื่องที่ Carol กับ Therese พบกันที่แผนกของเล่น เป็นฉากที่ไม่ได้เปิดมาเล่าเล่นๆ ลอยๆ แค่ว่า “คุณสองคนพบกันที่ไหน?” หรือ “คุณสองคนรักกันได้อย่างไร?” หากแต่แฝง sexual stereotype ของสังคมที่ฝังแน่นลึกมาเป็นเวลานาน นั่นก็คือ… เด็กผู้หญิงต้องเล่นตุ๊กตา
Carol ถาม Therese ว่า ตอนเป็นเด็ก… เธออยากได้อะไร (“What did you want when you were a little girl?”) ซึ่ง Therese ก็เหมือนเด็กผู้หญิงทั่วไปที่อาจจะเลือกไม่ได้ว่าตัวเองต้องการ “อะไร” หรือต้องการจะ “เป็น” อะไร ส่วนใหญ่เธอก็ตอบรับเออออไปหมดเหมือนคนใจง่าย ทั้งนี้เพราะเพศสภาพและสถานภาพของเธอมันจำกัดและกำหนดเธอมาแทบทั้งหมดแล้วสิ้น
แต่สุดท้ายเธอก็ได้แนะนำให้ Carol เลือกซื้อของเล่นชิ้นอื่นที่ไม่ใช่ตุ๊กตาให้ลูกสาวตัวน้อย
ถ้าดูจากเปลือกนอก Carol กับ Therese เหมือนจะแตกต่างกันมากกว่ามีอะไรเหมือนๆ กัน เช่น อายุวัย รสนิยมการแต่งตัว และโดยเฉพาะสถานะทางสังคมและการเงิน แต่ไม่ว่าจะ Carol ซึ่งอยู่ในสังคมหรูๆ ของคนมีชาติมีตระกูล หรือ Therese ซึ่งอยู่ในสังคมชนชั้นกลางหาเช้ากินค่ำธรรมดา แต่เธอทั้งสองก็เหมือนเป็น “ตุ๊กตา” ของแฟน/สามี หรือพูดอีกอย่างคือ ผู้หญิงเหมือนเป็นตัวประกอบของสังคมผู้ชาย
Carol แต่งงานมาเป็นสิบปีแล้ว แต่ชีวิตหลังแต่งงานของเธอส่วนใหญ่ต้องอยู่กับสังคมของสามี ทั้งครอบครัวและเพื่อนฝูงของสามี (สามีเธอไม่จำแม้แต่กระทั่งชื่อภรรยาของเพื่อนด้วยซ้ำ จำแต่ว่าเป็นเมียของเพื่อนคนนั้นคนนี้) ส่วน Therese ซึ่งถึงแม้จะยังไม่แต่งงาน แต่ชีวิตหลังการทำงานของเธอก็แวดล้อมไปด้วยเพื่อนผู้ชายของ Richard อยู่ดี
ในมุมมองของ Richard ซึ่งเป็นแฟนหนุ่ม เขามอง Therese ว่าเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่หน้าตาน่ารัก ควงไปอวดเพื่อนได้สบายๆ เขาเชื่อว่าเขารักและอยากใช้ชีวิตกับเธอ แต่ปัญหาคือเขาชอบ “คิดเองเออเอง” ส่วนใหญ่เวลาอยู่ด้วยกัน Therese จึงมักเป็นผู้ฟังมากกว่าเป็นผู้พูด ในขณะที่เธอจะดูมีความสุขกว่ากับการได้อยู่กับ Carol เพราะคุยกันถูกคอและ Carol ก็ดูสนใจเธออย่างที่เธอเป็นจริงๆ
Carol มอง Therese ว่าเป็นเด็กผู้หญิงที่แปลก…เหมือนมาจากนอกโลก (“What a strange girl you are. Flung out of space!”.) เราไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงว่าทำไม Carol จึงพูดเช่นนั้น แต่ Therese ก็ดูเป็นมนุษย์มากขึ้น ได้ใช้ชีวิตมากขึ้น เป็นตัวเองมากขึ้น และทำในสิ่งที่ชอบที่ใฝ่ฝันอย่างจริงจังตั้งแต่ได้เจอกับ Carol
หนึ่งในความฝันนั้นก็คือ “การถ่ายรูป” ซึ่ง Carol ได้ inspire ให้ Therese เปลี่ยนจากการถ่าย objects มาถ่ายคนมากขึ้นด้วย (“A friend of mine told me I should be more interested in humans,”)
หนังเล่าเรื่องความสัมพันธ์ของทั้งสองแบบ slow-life ซึ่งทิ้งจังหวะให้คนดูอย่างเราได้ซึมซับและสัมผัสกับความรู้สึกของตัวละครอย่างดื่มด่ำลึกซึ้ง คนดูทั่วไปที่ไม่ชินกับหนังเรื่อยๆ แบบนี้อาจจะเบื่อหรือง่วงได้ อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยคนดูทั่วไปน่าจะสามารถไปชื่นชมกับงานภาพ งานกำกับศิลป์ รวมไปถึงแฟชั่นและเมคอัพสวยๆ ในเรื่องได้
ภาพของหนังเขาจัดองค์ประกอบสวย ฟีลจะดูวินเทจย้อนยุคหน่อยเพราะ Edward Lachman (cinematographer) เลือกถ่ายด้วยกล้อง Super ฟิล์ม 16mm การกำกับศิลป์เขาละเอียดลออไปเสียทุกอย่าง เสื้อผ้าหน้าผมเป๊ะปังอลังเวอร์ ไฮแฟชั่นและมาเต็มมากๆ ทั้งยังคุมสีคุมโทนไปจนถึงฉากเฉิกและเฟอร์นิเจอร์ประกอบฉาก สีที่เลือกใช้ลงตัวและดูแพงจนอยากจะไปแมตช์ตามไปในชีวิตประจำวัน
ที่สำคัญที่สุด ไม่ชมไม่ได้เลยคือการแสดงของสองนักแสดงนำ Cate Blanchett และ Rooney Mara ซึ่งอินเนอร์แรงมาก และการแสดงออกทางอวัจนภาษาสื่อสุดๆ (แต่คนแรกได้เข้าชิงออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงแค่คนเดียวนะ ส่วนคนหลังได้เข้าชิงแค่สาขาสมทบหญิง ทั้งที่บทบาทก็ดูสำคัญและมีน้ำหนักเท่าๆ กัน เออ ก็ไม่เข้าใจ criteria ออสการ์เค้าเหมือนกัน)
นอกจากนี้เราชอบที่หนังใช้ Road Trip เป็นเครื่องมือนำพาให้ตัวละครเติบโตและพัฒนา และก็ชอบที่เรื่องราวมันเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาสอย่างมีนัยสำคัญด้วย
อย่างที่ทราบกันว่า สำหรับฝรั่งแล้ว คริสต์มาสถือเป็นเทศกาลแห่งความสุขและเป็นวันของครอบครัว (หรือคนรัก) แต่หนัง Carol นำเสนอคริสต์มาสในมุมของคนที่ “เหมือนจะ” มีความสุข หรือไม่มีความสุขโดยสมบูรณ์ เพราะเขาไม่ได้ใช้เวลานั้นอยู่กับครอบครัวหรือคนรักเหมือนคนอื่นๆ หรืออาจจะได้อยู่ด้วยกัน… แต่ก็แสดงออกมันออกมาต่อสาธารณชนไม่ได้
มันจะมีซีนในหนังที่โชว์ให้เรา (และ Therese) เห็นหนุ่มสาวหลายคู่แสดงออกซึ่งความรักกันอย่างโจ่งแจ้ง ทั้งกอดทั้งจูบ ในขณะที่ความรักของเธอกับ Carol ไม่สามารถแสดงออกในลักษณะนั้นได้แม้แต่จะจับมือ
ถ้าความรักในนิยามของ Richard คือความรู้สึกที่ว่าอยากอยู่ด้วยกันหรือใช้ชีวิตด้วยกันตลอดไป เราก็ได้แต่สงสัยว่า แล้วความรักของ Therese กับ Carol มันต่างกันตรงไหน… พูดอีกแง่คือ ถ้าตัดเรื่องเพศสภาพภายนอกออกไป คู่ของ Therese กับ Carol ก็เหมือนกับคู่รัก straight หรือ heterosexual นั่นแหละ แล้วทำไมจึงมีคนบอกว่า ความรักแบบ homosexual มัน immoral และ illegal?
มันถึงจุดที่ต้องตระหนักรู้กันแล้วรึเปล่าว่า กฎหมายที่เราใช้กันอยู่ส่วนใหญ่มันก็ถูกกำหนดไว้โดยใครก็ไม่รู้ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ จนบางทีเราก็แยกไม่ออกว่าค่านิยมของคนในสังคมกำหนดกฎหมาย หรือกฎหมายกำหนดค่านิยมของคนในสังคม แต่ที่แน่ๆ สังคมเองก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย บางกฎหมายที่ล้าสมัยและถูกเขียนโดยกลุ่มผู้ “เคย” มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง…ซึ่งตายไปนานแล้ว…ก็ควรตายตามไปด้วยรึเปล่า
ซีนที่เราอินกับไดอะล็อกของ Carol มากที่สุดคือตอนที่ Carol กับ Harge (และทนายของทั้งสองฝ่าย) กำลังเจรจากันเรื่องสิทธิการเลี้ยงดูบุตร เราว่าจุดนั้นคือจุดที่เราเห็นด้วยกับ argument ของ Carol ที่สุดเลยนะสำหรับนิยามของความรัก การแต่งงาน ความสุขของชีวิตคู่ รวมถึงสิทธิความเท่าเทียมในการเลี้ยงดูบุตร แล้ว Cate Blanchett ถ่ายทอดได้ดีมากๆ คำว่า #แม่ก็คือแม่ มันเหมาะกับเธอซีนนี้จริงๆ (ต้องไปดูเอง พูดเลย)
โดยสุดท้าย ยังดีที่หนังไม่ได้วางให้คู่เกย์หรือคู่เลสเบี้ยนต้องจบความสัมพันธ์ด้วยการฆ่าตัวตายหรือเข้ารับการบำบัดจิตเหมือนเรื่องราว LGBT หลายๆ เรื่องของยุคสมัยนั้น (1950s) โดย Carol จบฉากแบบปลายเปิดเช่นเดียว The Price of Salt นิยายต้นฉบับของมัน ให้คนดูและคนอ่านไปคิดต่อเองว่าความรักของ Carol มอง Therese จะไปต่อยังไง
ซึ่งถ้าว่ากันตามตรง… homosexual คบกันในยุคสมัยนั้นมันคงไม่สวยงามหรือง่ายดายนักหรอก… แต่ถ้าเราเป็น Carol กับ Therese เราก็คงไม่แคร์หรอก… เพราะเราได้เห็นแล้วว่า… ให้คบกับผู้ชายจริงๆ ก็ใช่ว่าจะแฮปปี้เสมอไป… จริงมั้ย?
Carol หนังดี เข้าชิงลูกโลกทองคำ 5 สาขา และออสการ์ 6 สาขา ส่วนคะแนนตามความชอบส่วนตัวของเราอยู่ที่ 8/10 (จริงๆ อินน้อยกว่า The Danish Girl หน่อยนึงแต่ก็โอเค เพราะบทเรื่องนี้ดีกว่า)
หนังมีกำหนดเข้าฉายจริงในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ ทุกโรงภาพยนตร์ แต่เพราะ สิ่งที่สวยงามที่สุดคือความรัก ทางค่ายเอ็ม พิคเจอร์ส จึงจัดให้คอภาพยนตร์ได้
READ MORE: อ่านรีวิว “The Danish Girl” ภาพยนตร์ถ่ายทอดเรื่องราว Transgender (ผู้หญิงข้ามเพศ) คนแรกๆ ของโลกได้ใน http://www.kwanmanie.com/the-danish-girl-review/
100 comments