Analysing Key Words and Structure of Essay Titles
ในการเขียน essay สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือการอ่านโจทย์ให้เคลียร์ ตีโจทย์ให้แตก และตอบโจทย์ให้ครบ ดังนั้นเราควรยอมเสียเวลานิดๆ หน่อยๆ กับการใส่ใจโจทย์หรือ topic ที่เขาให้มาทุกตัวอักษร เพราะมันจะเป็นไกด์ไลน์ให้เราในเรื่องของการจัดการ content และ structure ของ essay ของเรา
จำไว้ว่า คำเล็กคำน้อยเพียงพยางค์เดียวก็อาจเป็น clue หรืออาจเป็น key สำคัญของคำถามนั้นๆ อย่าประมาทหรือตกหล่นโจทย์แม้แต่คำเดียวโดยเด็ดขาด ตกคำเดียว ชีวิตอาจเปลี่ยนไปเลย เพราะ essay เราอาจจะเขียนไปคนละเรื่องกับที่เขาต้องการเลยก็ได้ โดยเฉพาะคำว่า “and” นี่ก็ต้องระวังให้ดี เพราะมันเป็นสัญญาณว่าโจทย์นั้นๆ อาจจะต้องการให้เราตอบมากกว่า 1 คำถามก็ได้
วิธีการที่ง่ายที่สุดในการเก็บคีย์เวิร์ดให้ครบคือ การขีดเส้นใต้ วงกลม หรือไฮไลท์คีย์เวิร์ด โดยก่อนเริ่มขั้นตอนต่อไป ควรอ่านโจทย์อย่างน้อย 2 รอบ และควรหมั่นย้อนกลับมาดูโจทย์บ่อยๆ แม้จะอยู่ในขณะ brainstorming, outlining, หรือเริ่มเขียนจริงไปแล้วก็ตาม
นอกจากนี้ เวลาเขียนจริงก็ควรพยายามเน้นย้ำ key words เหล่านั้นไปบ่อยๆ ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องพะวงว่าจะใช้คำซ้ำเลยสำหรับคีย์เวิร์ด ย้ำไปเลย~ (แต่ถ้าจุดไหนเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนนะคะ เปลี่ยนได้ก็ดี เปลี่ยนไม่ได้ก็ไม่เป็นไร) ถ้าจะพะวงเรื่องคำซ้ำให้พะวงแต่คำที่ไม่ใช่คีย์เวิร์ดแทน เพราะคำอื่นๆ ไม่ควรใช้ซ้ำถ้าไม่จำเป็น
โดยทั่วไป คำถามจะแบ่งเป็น 2 พาร์ท พาร์ทครึ่งแรกจะเป็นแนวที่เขาเกริ่นๆ สถานการณ์หรือปัญหามาให้ ส่วนอีกพาร์ทหลังจะเป็นส่วนที่เขาถามให้เราตอบประเด็นนั้นๆ จริงๆ มีวิธี analysing ดังนี้ เช่น
Ex.1
Most writers of fiction do not earn enough money to live from their writing. Do you think the government should give them financial assistance to help encourage good literature?
พาร์ทแรกคือ “Most writers of fiction do not earn enough money to live from their writing.” คีย์เวิร์ดคือคำที่เราขีดเส้นใต้ ส่วนพาร์ทหลังคือ “Do you think the government should give them financial assistance to help encourage good literature?”
คำถามพาร์ทแรก เราจะเอาไป paraphrase เป็น “background information” ใน introduction เช่น “In these recent decades, many fiction writers have found it difficult to make a decent living because of their disappointingly low paying. Some people argue that if the government provide financial assistance to some of them, they will be encouraged to create a better writing…..”
ส่วนคำถามพาร์ทหลัง เราจะเอาไป paraphrase เป็น “thesis statement” ซึ่งเป็นประโยคสุดท้ายของ introduction และเป็นประโยคที่ถือว่าสำคัญที่สุดของ essay เช่น “I strongly agree that some fiction writers should be given financial assistance……”
(หมายเหตุ introduction ควรมีความยาวแค่ประมาณ 10% ของจำนวนคำทั้งหมดใน essay)
Ex.2
Studying the English language in an English-speaking country is the best but not the only way to learn language. Do you agree or disagree with this statement?
พาร์ทแรกคือ “Studying the English language in an English-speaking country is the best but not the only way to learn language.” คีย์เวิร์ดคือคำที่เราขีดเส้นใต้ ส่วนพาร์ทหลังคือ “Do you agree or disagree with this statement?” ซึ่งอ่านปุ๊บก็คงรู๊ปั๊บว่าต้องเขียน structure แบบ Argumentative Essay หรือจะดัดแปลงเป็น Cause-Effect (หรือ Reason-Result) Essay ก็ได้ ก็จะเขียนง่ายขึ้นแต่ได้ใจความที่มีคุณภาพเหมือนกัน (ถ้าทำเป็นแล้วนะ…)
คำถามพาร์ทแรก เราจะเอาไป paraphrase เป็น “background information” ใน introduction เช่นเดิม เราก็เล่าๆ ไปจากกว้างที่สุดก่อน เช่น ปัจจุบันภาษาอังกฤษมันสำคัญต่อชีวิตประจำวันหรือโลกเรายังไง แล้วค่อยๆ ลงมาแคบลงๆ ที่ว่า คนเรานิยมหรือพยายามเรียนรู้พัฒนาภาษาอังกฤษของตนเองเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ แล้วก็ลงแคบลงมาอีกที่วิธีการเรียนของแต่ละคน บอกไปว่า ณ ที่นี้ มีสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือคนที่ไปเรียนภาษาที่เมืองนอก อีกกลุ่มคือคนที่เรียนด้วยตนเองที่บ้านเกิด
จากนั้นเอาคำถามพาร์ทสองไป paraphrase เป็น “thesis statement” หรือประโยคสุดท้ายของ introduction ว่าเราเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวนั้น คือแสดงจุดยืนของตนให้ชัดเจนตั้งแต่ thesis statement เช่น “In my opinion, I agree that, although the best way to learn English is taking a course in an English native speaking countries, like UK and US, there are also many effective ways to improve the language skills in our home country.”
(หมายเหตุ introduction ควรมีความยาวแค่ประมาณ 10% ของจำนวนคำทั้งหมดใน essay)
หลังจากนั้น พอเราเข้าใจโจทย์แล้ว เราจะเริ่มขั้นตอน brainstorming และ outlining ต่อไปได้อย่างสบายใจ ขั้นตอนดังกล่าวก็สำคัญไม่แพ้การเขียนจริงเช่นกัน ควร take time กับมันให้เต็มที่ อย่างคำกล่าวที่ว่า “เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” นั่นแหละ
ซึ่งเราจะมาว่ากันในเรื่องของ planning อีกที ในบล็อกต่อไปค่ะ
ป.ล. ในอนาคต อาจจะมาแก้ไขในเรื่องของภาพประกอบชัดๆ เติมสีสันสวยๆ หรือกราฟิกเก๋ๆ (ถ้าทำได้) ตอนนี้เอาแต่เนื้อหาดิบๆ เป็น text ล้วนไปก่อนนะคะ
READ MORE: Writing: Easy Essay Structure
หรือสนใจเรียนกับติวเตอร์ขวัญ: http://kwanmanie.com/writing-course-2015/
42 comments