บล็อกนี้เราอยากจะมาแนะนำให้ทุกคนมาลองใช้ Notion ไปด้วยกัน
เราใช้ Notion มาเป็นปี ๆ แล้ว ใช้ตั้งแต่จดโน้ต แพลนคอร์สสอน แพลนคอนเทนต์ แพลนทริป ฯลฯ จนกระทั่งตอนนี้ได้เลื่อนขั้นเป็น Notion Affiliate!
คลิกเพื่อดาวน์โหลด Notion ฟรี!
เราใช้ Notion ทำอะไรบ้าง?
1. Take Notes: ใช้ Notion จดโน้ต
เราใช้จดโน้ต เลคเชอร์ ไอเดีย บันทึกการประชุม ช้อตโน้ตหลังการอ่านหนังสือ ฯลฯ ซึ่ง Notion มีฟีเจอร์ตกแต่งข้อความ รูปภาพ ฝังลิงก์ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดย Notion มีระบบระเบียบ สามารถค้นหาหรือจัดหมวดหมู่โน้ตได้อย่างเป็นระบบ สะดวก ง่ายดาย
2. Plan Life: ใช้ Notion จัดการชีวิต
Notion มีเทมเพลตฟรีให้เลือกใช้มากมาย ไม่ว่าจะเทมเพลต monthly calendar, weekly planner, to-do-list, habit tracking ฯลฯ ที่ช่วยในการวางแผนจัดการชีวิตตามความเหมาะสมหรือความต้องการของแต่ละคน โดยล่าสุด Notion Calendar ก็ซิงก์กับ Google Calendar แล้วด้วย
3. Journal: ใช้ Notion เขียนบันทึกประจำวัน
เช่นเดียวกับข้อ 1 เราสามารถใช้ Notion ในการเขียนบันทึกประจำวันพร้อมแนบรูปภาพและลิงก์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เราจึงสามารถใช้ Notion เป็นพื้นที่ในการเขียนความคิดความรู้สึก, reflections, inspirations, gratitude logging ฯลฯ
4. Work: ใช้ Notion แพลนคอนเทนต์ คอร์สสอน โปรเจ็กต์ หรืองานต่าง ๆ
ในฐานะคอนเทนต์ครีเอเตอร์และติวเตอร์ Notion ช่วยเรื่องการจัดการไอเดีย ข้อมูล โปรเซสและตารางเวลาอันมากมายอย่างมาก เช่น เราใช้ Notion ในการลิสต์ content ideas, แพลน editorial calendar, ดีไซน์ course syllabus, จัดเก็บ resources ฯลฯ ซึ่งเป็นระบบระเบียบ ค้นหาง่าย และดูโปรเฟสชันนัลสุด ๆ
5. Plan Trips: ใช้ Notion วางแผนทริป การท่องเที่ยว
นอกจากเรื่องเรียนและเรื่องงาน Notion ยังประยุกต์ใช้กับเรื่องเที่ยวได้ เช่น ทริปตุรกีและทริปภูเก็ตของเราเมื่อปี 2023 เราก็ใช้ Notion ช่วยจัด travel itineraries, flights & accommodations bookings, activities, tourist attractions ฯลฯ
มือใหม่หัดใช้งาน Notion ครั้งแรก
1. First, sign up and log in to Notion
2. Explore the main dashboard: sidebar (or main menu), main workspace, and settings.
3. Create your first page. Click ‘+ New Page’.
(You can simply download a template and customize it as well.)
4. Title it ‘My Weekly Planner’ for example
5. Add headings for each day. Type and format it as ‘Heading 2’. Like this, ‘Monday’.
6. Under each day, add tasks. Click ‘+’, choose ‘To-do list’, and enter your daily tasks.
Try checking off items.
Remember, you can drag and drop items to rearrange them.
Customize it as you wish.
7. Like 5., add Note section as ‘Heading 2’.
8. Add bullet points for notes or quick thoughts
9. Try text formatting options like bold, italic, and underline.
You can use different text styles and colors.
10. Try adding images or embed external content (like a motivational quote or a helpful YouTube video or a weather widget or a mini-calendar) to the planner page.
11. Add a cover image and emojis.
สร้างฐานข้อมูลบน Notion
เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานการใช้ Notion เบื้องต้นแล้ว เราจะมาลองสร้าง database (ตาราง บอร์ด ไทม์ไลน์ แกลอรี่ ฯลฯ) เพื่อการจัดการข้อมูลที่มีและสิทธิภาพมากขึ้นกันบ้าง ฟังก์ชั่นนี้สามารถประยุกต์ใช้กับการติดตามโปรเจ็กต์, book tracker, habit tracker, content calendar, จดบันทึกรายรับรายจ่าย, etc.
Database บน Notion คือ a collection of items (เช่น tasks, projects, notes, etc.) ที่เราจัดเก็บในรูปแบบ table, list, board, calendar, หรือ gallery (ชุดข้อมูลนึงสามารถดูได้หลายรูปแบบข้างต้นเลย) ช่วยจัดการชุดข้อมูลที่หลากหลายได้ดียิ่งขึ้น
แต่ละ item ใน database สามารถมีได้หลาย attributes หรือหลาย properties (เช่น dates, checkboxes, text, links, etc.) ซึ่งเราสามารถ customize ตามความต้องการใช้งานของเราได้เลย โดยเราสามารถ filter & sort ข้อมูล based on criteria ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในหลายกรณี เช่น manage deadlines หรือจัด categories เป็นต้น
1. Click ’+‘ >> select ’Table – Inline‘ >> enter your title
2. Add properties like ’Due Date‘, ’Category‘, and ’Status‘.
Adjust the columns to fit your needs. For example, rename ‘Tags’ to ‘Category’
3. You can add new columns by clicking on “+” on the right side of the table. Choose the property type for each column: ‘Text’ for notes, ‘Select’ or ‘Multi-select’ for categories, ‘Date’ for deadlines, ‘Checkbox’ for completion status, etc.
4. Try sort and filter options to organize your tasks, like sorting by due date or filtering by category.
5. Explore different views like ‘Board’ for a Kanban-style overview or ‘Calendar’ to track deadlines.
6. Try creating links to other related pages or databases within your Notion (by using “@“)
Plus, each task can be clicked on to open a detailed view, where you can add more extensive notes, sub-tasks, or related files.
ใช้ Notion เป็นสมองที่สองด้วย PARA Method
- ดาวน์โหลดแอพฯ NOTION หรือสมัครใช้งานผ่านเว็บไซต์ NOTION
- ดาวน์โหลดเทมเพลต The PARA Method ที่ชอบ (มีทั้งแบบฟรีและแบบไม่ฟรีให้เลือกมากมาย)
- ตกแต่งหรือ customize เทมเพลต และลองเริ่มใช้งานได้เลย!
ใครสนใจเรื่องสมองที่สองและการจัดระเบียบข้อมูลดิจิตัล ลองดูหนังสือ Building a Second Brain และ The PARA Method ของ Tiago Forte ดูนะคะ
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลล้นหลาม และในฐานะที่ทำงานออนไลน์เป็นหลัก การใช้ Notion เป็นสมองที่สอง มันช่วยเพิ่มโฟกัสและ productivity ได้จริง
เทคนิค PARA เป็นการ Organize ข้อมูลดิจิทัลที่แบ่งข้อมูลเป็น 4 หมวด:
1. Project: งานระยะสั้น โครงการที่กำลังทำอยู่ มีเป้าหมาย+เดดไลน์
2. Area: หน้าที่ความรับผิดชอบระยะยาว ทั้งส่วนตัวและการงาน เช่น การเงิน สุขภาพ ฯลฯ
3. Resource: หัวข้อที่สนใจ สงสัย หลงใหล หรือน่าจะได้ใช้กับ Project หรือ Area ในอนาคต อาจเป็นบทความ ไอเดีย หรือโน้ต เช่น ทักษะใหม่ เทรนด์ งานอดิเรก
4. Archive: คลังเก็บข้อมูลที่ใช้แล้ว ตอนนี้ไม่ได้ active แล้ว แต่ก็อาจได้ใช้อีกหรือเป็น reference ในอนาคต (ซึ่งแตกต่างจาก trash ที่ลบคือลบ)
PARA เป็นการจัดระเบียบข้อมูลดิจิทัลที่ Simple & Flexible คือเข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ทางการ ไม่ซับซ้อน ช่วยเสริมสมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ และมุมมองต่าง ๆ โดยลดความรกของโฟลเดอร์ เพิ่มโฟกัสในสิ่งที่สำคัญ ณ ปัจจุบัน และเป้าหมาย (ปัจจุบันเรามีฟังก์ชั่น search ให้หาไฟล์ได้ง่าย จึงไม่จำเป็นต้องสร้างโฟลเดอร์แบ่งตามหมวดหมู่มากมายแบบดิวอี้) การฝึกใช้ PARA ยังช่วยฝึกทักษะการคัดกรองข้อมูลว่าอะไรสำคัญหรือไม่สำคัญกับเรา โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ too much information แบบนี้
คลิกเพื่อดาวน์โหลด Notion ฟรี!