หมดยุค Entrance หรือ Admission แล้ว เพราะตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ จะใช้ชื่อว่า TCAS ซึ่งย่อมาจาก “Thai University Central Admission System” (เออ ไม่รู้ทำไมไม่เอาตัว U มาร่วมในคำด้วย)
TCAS มีการสอบทั้งหมด 5 รอบ ได้แก่
*ข้อดีคือการสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังจากที่เด็ก ม.6 เรียนจบการศึกษาที่รร.แล้ว (ถ้าเป็นปีก่อน ๆ เดือน ต.ค. ก็ต้องสอบ GAT/PAT รอบแรกละ) และเพิ่มภาษาเกาหลีเป็นภาษาเพิ่มเติมในการสอบ PAT7 (ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ) ด้วย แต่ข้อเสีย (มั้ง) คือ GAT/PAT สอบได้รอบเดียว ไม่มีแก้ตัว
- GAT/ PAT สอบวันที่ 24 – 27 ก.พ. 2561
- O-NET สอบวันที่ 3 – 4 มี.ค. 2561
- 9 วิชาสามัญ สอบวันที่ 17 – 18 มี.ค. 2561
- กสพท. และวิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย สอบวันที่ 24 ก.พ. – 12 เม.ย. 2561
[table id=2 /]
1. รอบ Portfolio
- สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
- ใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) กับ Resume ทั่วไป และบางคณะใช้ Statement of Purpose (SOP) ด้วย ซึ่งในส่วนของ Statement of Purpose (SOP) พี่ขวัญยังช่วยดูแลการเขียนให้เด็ก ๆ ได้เหมือนเดิมค่า ดูรายละเอียดบริการให้คำแนะนำและตรวจแก้ SOP ได้ที่ลิงค์ >> Statement of Purpose (SOP)
- ไม่มีสอบข้อเขียน ส่วนใหญ่สัมภาษณ์อย่างเดียว
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดยคณะ/มหาวิทยาลัยโดยตรง
- แบ่งเป็น 2 รอบ
*BALAC รับรอบนี้ 60 คน โดยใช้คะแนน 1.) TOEFL/IELTS/CU-TEP 2.) CU-AAT/SAT/ACT แล้วก็สัมภาษณ์
*BEC & BAS ก็รับรอบนี้ (เฉพาะรอบ 1/1) จำนวนสาขาละ 20 คน
*BJM ก็รับรอบนี้ (เฉพาะรอบ 1/2) จำนวน 20 คน
2. รอบ Quota
- มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
- ข้อเขียนหลายคณะยังเป็น essays ซึ่งพี่ขวัญยังสามารถช่วยและดูแลเด็ก ๆ ให้ได้เหมือนเดิมค่า ดูรายละเอียดคอร์สได้ที่ http://www.kwanmanie.com/basic-essay-course-2017/
- สำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค โควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษ
- คะแนนที่ต้องใช้ยื่นส่วนใหญ่เป็น GAT/PAT และ/หรือ 9 วิชาสามัญ
*BALAC รับรอบนี้อีก 40 คน โดยใช้คะแนน 1.) TOEFL/IELTS/CU-TEP 2.) CU-AAT/SAT/ACT แล้วก็สอบข้อเขียน (ซึ่งปกติเป็น essays)
*Comm Arts รับรอบนี้ 80 คน โดยใช้คะแนน CU-AAT/SAT (ทั้งเลข+อิ๊ง) ยื่นก่อน แล้วไปสอบข้อเขียน (ซึ่งปกติเป็น essays)
3. รอบรับตรงร่วมกัน
- สำหรับนักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- สมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ
- หมายความว่า สมมติเราเลือก 4 คณะ ได้แก่ อักษรฯ, นิเทศฯ, นิติฯ, และ เศรษฐศาสตร์ เราก็จะมีโอกาสผ่านการคัดเลือกหมดทั้ง 4 คณะที่เราเลือกยื่นไป จากนั้นค่อยเลือกอันที่ต้องการจริง ๆ ใน Clearing House ของรอบที่ 3 อีกครั้ง ซึ่งที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน
- เกณฑ์การคัดเลือกขึ้นอยู่กับแต่ละคณะแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ก็เป็นข้อสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ของคณะนั้น ๆ โดยเฉพาะ
- ข้อเขียนหลายคณะ พี่ขวัญก็ยังสามารถช่วยและดูแลเด็ก ๆ ให้ได้เหมือนเดิมค่า ดูรายละเอียดคอร์สได้ที่ http://www.kwanmanie.com/basic-essay-course-2017/
*BMIR รับรอบนี้ 95 คน
*BJM รับรอบนี้ 50 คน
*BEC รับรอบนี้ 70 คน
*BAS รับรอบนี้ 70 คน
4. รอบ Admission
- สำหรับนักเรียนทั่วไป
- การสอบก็คล้าย ๆ ของปีก่อน ที่มี GAT/PAT
- สมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนปีก่อน ๆ) เช่น ถ้าเราเลือก 4 คณะ ได้แก่ อักษรฯ, นิเทศฯ, นิติฯ, และ เศรษฐศาสตร์ ตามลำดับ แล้วเราหลุดอักษรฯ ไปติดนิเทศฯ แล้ว เราก็จะได้นิเทศฯ ทันที ไม่มีสิทธิไปต่อถึงอันดับท้าย ๆ ที่เลือกไว้
*BJM รับรอบนี้ 5 คน
*BEC รับรอบนี้ 5 คน
5. รอบรับตรงอิสระ / รอบเก็บตก
- สำหรับนักเรียนทั่วไป ซึ่งพูดตรง ๆ ก็คือ เป็นรอบสำหรับพวกที่ยังไม่ติดที่ไหนเลย แล้วต้องไปเสียบกับคณะที่ยังมีที่เหลืออยู่
- สมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือกคือ ก.ค. 2561 (แล้วเปิดเทอมเดือน ส.ค. 2561 อะ กระชั้นชิดมาก)
*BJM รับรอบนี้อีก 5 คน
*BEC รับรอบนี้อีก 5 คน
– ส่วนเด็กอินเตอร์ หรือเด็กโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือเด็กที่จบจากต่างประเทศ ไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา สามารถสมัครสอบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้เลย เท่าที่เข้าใจคือ ก็สอบได้ทุกรอบ ยกเว้นรอบโควตารอบเดียวที่เหมือนจะไม่ได้
Read More
- เว็บไซต์ทางการของ TCAS: http://TCAS61.cupt.net
- ดาวน์โหลด PDF รายละเอียดการคัดเลือกแต่ละคณะของจุฬาฯ คลิก
- ดาวน์โหลด PDF รายละเอียดการคัดเลือกแต่ละคณะของธรรมศาสตร์ คลิก
103 comments
Comments are closed.