เขาจึงได้รับเชิญให้ข้ามน้ำข้ามทะเลจากเมือง Madras (หรือ Tamil Nadu ในปัจจุบัน) ประเทศอินเดียไปที่ Trinity College, Cambridge University ประเทศอังกฤษ ซึ่งตอนนั้นอยู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
แต่โดยภาพรวมจะเหมือน ๆ กับ The Imitation Gameมากกว่า ตรงที่ทั้ง S. Ramanujanและ Alan Turingเป็นอัจฉริยะคนสำคัญที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักหรือกล่าวถึง (เว้นแต่จะเป็นคนในแวดวงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์), มีแบคกราวนด์เป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามลำดับ, และทั้งสองคนเป็นคนชายขอบในยุคสมัยนั้น
แต่มีข้อแตกต่างคือ Alan Turingไม่ได้รับการยอมรับหรือถูกเหยียดเพราะเขาเป็นเพศที่สาม ในขณะที่ S. Ramanujanไม่ได้รับการยอมรับและถูกเหยียดเพราะเป็นคนอินเดียและไม่มีการศึกษา หรือพูดอีกแง่คือ The Imitation Gameคือเรื่องของอัจฉริยะกับปัญหา Gender Discrimination หรือ Sexism ส่วน The Man Who Knew Infinityคือเรื่องของอัจฉริยะกับปัญหา Racial Discrimination หรือ Racism
พื้นฐานชีวิตของ S. Ramanujanที่จะส่งให้เขาประสบความสำเร็จได้นั้นแทบไม่มีเลย นอกจากความขยันและความเพียรพยายามมุมานะของเขาเอง ถ้าเขาไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง ส่งจดหมายไปหา G. H. Hardyและกล้าตัดสินใจแหกคอกออกประเทศมุ่งหน้าไป Trinity College, Cambridge University เขาก็คงไม่ประสบความสำเร็จ
ทุก ๆ ซีนสำคัญ รวมถึงซีนการตัดสินใจหรือการเปลี่ยนแปลง หนังถ่ายทอดจุดจุดนั้นได้ดีงามมาก เช่น โดยส่วนตัวเราชอบวินาทีที่ G. H. Hardyเอามีดฉีกซองจดหมายของคนอินเดียโนเนมคนนี้มาเปิดอ่าน หนังก็ละเมียดละไมกับวินาทีนั้น เพราะตั้งใจให้เห็นว่าซีนนั้นมันคือวินาทีสำคัญ มันคือก้าวสำคัญที่กำลังจะเปลี่ยนชีวิตของ S. Ramanujanคือจุดเริ่มต้นของ “โอกาส” ที่เขาถวิลหา
ซึ่งต่อมา G. H. Hardyได้กลายเป็นเป็นมิตรแท้คนเดียวของ S. Ramanujanที่อังกฤษเลยก็ว่าได้ โดยตัวละครทั้งสองตัวคนละขั้วกันสุด ๆ กล่าวคือ S. Ramanujanจะศรัทธาในพระเจ้า และเชื่อมั่นในทฤษฎีกับสัญชาตญาณของตนเอง ในขณะที่ G. H. Hardyไม่เชื่อในอะไรก็ตามที่พิสูจน์ไม่ได้ ทั้งพระเจ้า และสูตรทางคณิตศาสตร์
เช่นเดียวกับผู้หญิงอินเดียทุกคนตอนนั้น Janaki ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ เธออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จะเขียนจดหมายก็ต้องวานให้พี่ชายเขียนให้ ชีวิตแต่ละวันไม่มีอะไรเลยนอกจากคิดถึงสามี ตรงกันข้ามกับ S. Ramanujanที่อย่างน้อยชีวิตเขายังมีคณิตศาสตร์ให้คิดให้ทำไม่รู้จบ เช่นเดียวกับ G. H. Hardyซึ่งมีการศึกษาและงานที่ดี ต่อให้เขาต้องอยู่เป็นโสดจนตาย ชีวิตก็ไม่เดือดร้อน
โดยสรุป ถึงแม้คนโง่เลขอย่างเราจะไม่อินกับสิ่งที่ S. Ramanujanคิดค้น แต่หนัง The Man Who Knew Infinityทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองโชคดีแค่ไหนที่เกิดมามีโอกาสทางการศึกษา โอกาสทางสังคม อีกทั้งยังมีเครื่องมือสื่อสารที่สะดวกสบาย ช่วยเพิ่มโอกาสมากมายในชีวิต ทำให้เราติดต่อกันได้ง่าย มีพื้นที่ออนไลน์ให้แสดงตัวตนและความสามารถให้โลกทั้งโลกได้ประจักษ์
44 comments