💡 Book Title — The PARA Method: สำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล Author — Tiago Forte 📌 พิกัดหนังสือ https://s.shopee.co.th/9f3ko5gGX8
ก่อนหน้านี้ ในหนังสือ Building a Second Brain เราได้รู้จักกับเทคนิคการจดบันทึกแบบ CODE: Capture, Organize, Distrill, และ Express ไปแล้ว โดยขั้นตอนที่ยากและสำคัญที่สุดคือ Organize
หนังสือเล่มนี้ต่อยอดจากหนังสือ Building a Second Brain ของผู้เขียนคนเดียวกัน โดยการลงลึกเกี่ยวกับเทคนิค PARA ซึ่งเป็นการ Organize หรือการจัดระเบียบข้อมูลดิจิทัล
โดยแบ่งข้อมูลเป็น 4 หมวด: Project, Area, Resource, และ Archive
- Project: งานระยะสั้น โครงการที่กำลังทำอยู่ ณ ปัจจุบัน มีเป้าหมายและเดดไลน์ชัดเจน
- Area: หน้าที่ความรับผิดชอบระยะยาว (ไม่มีวันสิ้นสุด) ทั้งส่วนตัวและการงาน เช่น การเงิน สุขภาพ ความสัมพันธ์ หน้าที่ผู้จัดการ ฯลฯ
- Resource: หัวข้อที่สนใจ สงสัย หลงใหล อยากเรียนรู้ หรือน่าจะได้ใช้กับ Project หรือ Area ในอนาคต อาจเป็นบทความ ไอเดีย หรือโน้ต เช่น ทักษะใหม่ เทรนด์ งานอดิเรก (ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่แบ่งปันได้ ต่างจาก Area ที่ค่อนข้างส่วนตัว)
- Archive: คลังเก็บข้อมูลที่ใช้แล้ว ตอนนี้ไม่ได้ active แล้ว แต่ก็อาจได้ใช้อีกหรือเป็น reference ในอนาคต (ซึ่งแตกต่างจาก trash ที่ลบแล้วลบเลย)
ไกด์การทำ PARA ใน 1 นาที
โดยส่วนตัว เราจัดระเบียบข้อมูลดิจิตัลบน NOTION เป็นหลัก ซึ่งเราจะอธิบายต่อไปในส่วนท้ายของบทความนี้ ส่วนตรงนี้ เราขอสรุปไกด์การทำ PARA ที่หนังสือเล่มนี้แนะนำไว้ ดังนี้
- เก็บไฟล์เดิมที่มีอยู่ลง Archive โดยตั้งชื่อโฟลเดอร์ว่า “Archive [วันที่ปัจจุบัน]” และใส่ไว้ในโฟลเดอร์หลัก “Archive” อีกที
- สร้างโฟลเดอร์ “Project” และภายในโฟลเดอร์นี้ ให้สร้างโฟลเดอร์ย่อยสำหรับแต่ละโปรเจ็กต์ที่ทำอยู่ โปรเจ็กต์ละโฟลเดอร์
- ถ้ายังไม่มีข้อมูล ยังไม่จำเป็นต้องสร้างโฟลเดอร์เปล่าให้ “Area” และ “Resource” ก็ได้
เคล็ดลับเพื่อการจัดระเบียบข้อมูล
- สร้างโฟลเดอร์ “Inbox” หรือ “ขาเข้า” เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลใหม่ไว้ก่อนจนกว่าเราจะมีเวลาไปจัดเรียงหรือแยกไปโฟลเดอร์ Project, Area, หรือ Resource อีกที (เวลาแยก แค่ถามตัวเองว่า “ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อเราเมื่อไหร่?”)
- ใส่ตัวเลขในโฟลเดอร์ ดังนี้ “0 Inbox”, “1 Project”, “2 Area”, “3 Resource”, และ “4 Archive” เพื่อให้มันจัดเรียงตามตัวอักษรหรือตามลำดับความสำคัญที่ต้องใช้บ่อย
- มีหลักในการตั้งชื่อโฟลเดอร์ เช่น ใส่อีโมจิไว้หน้าชื่อสำหรับโฟลเดอร์โปรเจ็กต์ หรือใส่คำว่า [Area] ไว้สำหรับทุกโฟลเดอร์ของ Area เป็นต้น
วิธีดูแลรักษาระบบ PARA (ใช้เวลาเพียง 5 นาทีต่อสัปดาห์)
- ตั้งชื่อไฟล์ข้อมูลใหม่ในโฟลเดอร์ Inbox
- แยกข้อมูลใหม่ลงโฟลเดอร์ใน PARA โดยโฟกัสที่ “ประโยชน์” เป็นหลัก
- อัพเดทโปรเจ็กต์ที่ยังทำอยู่
ความคิดเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ The PARA Method
เหตุผลที่ควรนำเทคนิค PARA ไปประยุกต์ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูลดิจิทัล
- ลดความรกของโฟลเดอร์ หาไฟล์ง่าย เพิ่มโฟกัสในสิ่งที่สำคัญ ณ ปัจจุบัน และเป้าหมาย
- ช่วยคัดกรองว่าข้อมูลอะไรสำคัญหรือไม่สำคัญกับเรา โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ too much information
- ปัจจุบันเราใช้ฟังก์ชั่น search ได้ง่าย จึงไม่จำเป็นต้องสร้างโฟลเดอร์แบ่งตามหมวดหมู่มากมายหรือตามระบบดิวอี้ของห้องสมุด
- หลักการสำคัญคือ ช่วยแยกสิ่งที่ทำได้หรือสิ่งที่ต้องรีบทำออกมา
- ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาจัดระเบียบเยอะหรือจัดล่วงหน้า
- อะแดปต์ได้ง่ายกับหลาย ๆ แพลตฟอร์ม (โดยส่วนตัวเราใช้ NOTION)
- Simple & Flexible เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ทางการหรือซับซ้อน
- เสริมสมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ และมุมมอง
ผู้ที่เหมาะใช้ The PARA Method
- Digital Workers: คนที่ทำงานกับเครื่องมือดิจิทัลหรือออนไลน์เป็นหลัก จนถึงพวกที่มี จัดเก็บ หรือใช้ชุดข้อมูลเยอะ ๆ เช่น นักเขียน, โปรแกรมเมอร์, ดีไซน์เนอร์, นักมาร์เก็ตติ้ง ฯลฯ
- Content Creators: Bloggers, YouTubers, and social media influencers
- Multi-Project Managers
- Lifelong Learners
เริ่มต้นใช้ The PARA Method อย่างง่ายที่สุด บน NOTION
- ดาวน์โหลดแอพฯ NOTION หรือสมัครใช้งานผ่านเว็บไซต์ NOTION
- ดาวน์โหลดเทมเพลต The PARA Method ที่ชอบ (มีทั้งแบบฟรีและแบบไม่ฟรีให้เลือกมากมาย)
- ตกแต่งหรือ customize เทมเพลต และลองเริ่มใช้งานได้เลย!
💡 Book Title — The PARA Method: สำเร็จทุกเป้าหมายด้วยการจัดระเบียบชีวิตดิจิทัล Author — Tiago Forte 📌 พิกัดหนังสือ https://s.shopee.co.th/9f3ko5gGX8