หนังสือ ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุดถึงใช้สมุดกราฟ แนะนำการจดโน้ตด้วยสมุดกราฟ โดยการจดโน้ต ณ ที่นี้ ไม่ใช่สมุด journal หรือสมุดจด random thoughts จุกจิกในชีวิตประจำวัน หากแต่หมายถึงการจดโน้ตเพื่อ academic and professional purposes เช่น การเรียน การทำงานโปรเจ็กต์ต่าง ๆ โดยส่วนตัว เราเน้นรับไอเดียเรื่องการจดโน้ตโดยภาพรวมไปประยุกต์ใช้ และไม่ยึดติดเรื่องการใช้สมุดกราฟเท่านั้น (ถึงแม้โดยส่วนตัวเราเองก็ชอบใช้สมุดกราฟอยู่แล้ว) เพราะเราเชื่อว่า แต่ละคน แต่ละงาน ก็อาจเหมาะกับสมุดรูปแบบแตกต่างกันได
📌 พิกัดหนังสือ https://s.shopee.co.th/10lmU0LhLd
ทำไม???
- ช่วยให้สมองจัดระเบียบเรียบเรียงความคิดได้ดี ความจำดีขึ้น คิดวิเคราะห์ดีขึ้น แก้ปัญหาดีขึ้น ถ่ายทอดหรือนำเสนองานดีขึ้น มีแรงจูงใจมากขึ้น เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
- วาดแผนภูมิ ตาราง กราฟ หรือรูปได้ง่าย อ่านเข้าใจง่าย
- ใดใดคือ ทุก ๆ สมุดโน้ต ไม่ว่าจะแบบไหน มันก็ไม่ใช่แค่เครื่องมือในการจดบันทึกแต่แรกแล้ว แต่มันซ่อนพลังบางอย่างที่ช่วยเปลี่ยนชีวิตหรือทำให้เราเก่งขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อเอาไว้ด้วย
กฎ 3 ข้อในการจดโน้ตเพื่อเพิ่มความสามารถ
- เปลี่ยนมาใช้สมุดกกราฟ
- ใส่หัวเรื่อง
- แบ่งพื้นที่บนหน้ากระดาษเป็น 3 ส่วน
- ข้อเท็จจริง
- สิ่งที่วิเคราะห์ได้
- แนวทางปฏิบัติ
การแบ่งพื้นที่บนกระดาษออกเป็น 3 ส่วน
- ตัวอย่าง: สมุด Cornell แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- พื้นที่สำหรับจดเนื้อหา (Note-Taking Area)
- พื้นที่สำหรับจดประเด็นสำคัญ (Cue Column)
- พื้นที่สำหรับเขียนสรุป (Summary Area)
- สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พื้นที่สรุป (ซึ่งเราจะได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามและทักษะการสรุป อันเป็นทักษะสำคัญของคนเก่ง)
ทิปเพิ่มเติมในการจดโน้ต
- อย่าใช้สมุดเล่มเล็ก เพราะจะไม่มีพื้นที่ไว้คิดวิเคราะห์
- ใช้ปากกาไม่เกิน 3 สี และยอมลงทุนเพื่อสมุดกับปากกาที่เขียนดี ๆ
- เขียน 1 เรื่องต่อ 1 หน้า หรือ 1 หน้าคู่
- เขียนด้วยสำนวนภาษาตัวเอง ไม่ลอกเด๊ะ ๆ (จดจำ >> ขบคิด >> ถ่ายทอด)
- เว้น space บนหน้ากระดาษ เช่น เว้นระหว่างบรรทัด เว้นขอบซ้ายขวา อย่าจดเป็นพรืด
ประเภทของสมุดโน้ตแบ่งตามหน้าที่หรือช่วงวัยของผู้ใช้
- สมุดโน้ตเพื่อการเรียน
- มีหน้าที่ช่วย “จำ” หรือช่วย “สั่งสม” ข้อมูลและความรู้ไว้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งต่างจากประเภทอื่น ๆ ที่จะช่วย “คัดทิ้ง” โดยเน้นเก็บเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเพื่อหาคำตอบหรือสร้างผลลัพธ์
- สมุดโน้ตช่วย “คิด” สำหรับการทำงาน
- ช่วยคิดวิเคราะห์ จับประเด็นสำคัญ และหาข้อสรุป
- สมุดโน้ตช่วย “ถ่ายทอด” หรือ “นำเสนอ” (เป็นสมุดโน้ต end-game)
- ช่วยคัดกรองและเรียบเรียงข้อมูลเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ
เทคนิคในการใช้สมุดโน้ตสำหรับการเรียน
- ใช้ 1 หน้าคู่ต่อ 1 หัวเรื่อง และแปะหัวเรื่องไว้หัวบนกระดาษเสมอ
- สิ่งสำคัญคือการจัดการพื้นที่ตรงกลางของหน้ากระดาษ
- เราอาจใช้พื้นที่ตรงกลางจดความคิดเห็นของอาจารย์หรือเนื้อหาประเด็นสำคัญที่เรียบเรียงได้ หรือเราอาจจดเนื้อหาการบรรยายไว้พื้นที่ด้านซ้าย และจดประเด็นสำคัญหรือเรื่องที่สงสัยไว้บนพื้นที่ตรงกลาง และหลังจากจด คิดวิเคราะห์ และทำความเข้าใจเนื้อหาแล้ว ก็จดสรุปสาระสำคัญลงพื้นที่ด้านขวา
- พยายามฝึกเอาข้อสงสัย ประเด็นสำคัญ หรือสิ่งที่คิดวิเคราะห์ได้ เอามาผูกเรื่อง เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของแต่ละข้อมูล
- อาจฝึกเชื่อมโยงได้โดยการใช้เทคนิค “การใช้คำเชื่อมในแบบของตัวเอง”
- หรือเทคนิค “ลูกศร 3 ชนิด
- ลูกศรแตกยอดความคิด เส้นบาง ๆ สำหรับเชื่อมประเด็น A-B
- ลูกศรสรุป ทรงสามเหลี่ยมหนา ๆ ทึบ ๆ ที่ชี้นำจากพื้นที่ตรงกลางไปยังพื้นที่สรุปที่อยู่ด้านขวา
- ลูกศรเน้นย้ำ ที่หน้าตาเหมือนลูกศรปกติแต่มีความหนาทึบ และมักใช้สีแดง ใช้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ
- ใช้ปากกาสีต่างกันในการแบ่งแยก “สิ่งที่เข้าใจ” กับ “สิ่งที่ยังไม่เข้าใจ” (จากนั้นก็จัดการทำให้กลายเป็นสิ่งที่เข้าใจให้ได้ด้วย)
- ขั้นตอนสุดท้าย ควรระบุ “ประเด็นสำคัญ” สั้น ๆ ไม่เกิน 3 ประเด็น เขียนเป็นกรอบไว้แถวหัวเรื่องด้านบน
เทคนิคในการใช้สมุดโน้ตสำหรับการทำงาน
- จดโน้ต >> คัดทิ้ง >> หาข้อสรุปเพียงข้อเดียว
- อย่าสักแต่จด คัดแต่สิ่งสำคัญ และโฟกัสกับสิ่งนั้น
- ใช้สมุด 1 หน้าต่อ 1 หัวเรื่อง เขียนหัวเรื่องไว้ด้านบน
เทคนิคในการใช้สมุดโน้ตสำหรับการนำเสนอ
- ใช้ปากกาสีต่างกันในการแบ่งแยก “ข้อเท็จจริง (fact)” กับ “ความคิดเห็น (opinion)” เช่น ตอนประชุม
- อย่าจดเป็นคำ ๆ ต้องเขียนจนจบประโยค (เป็นการบังคับให้เราต้องเรียบเรียงคำในหัว) เนื้อหาต้องอ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ใช้คำที่เห็นภาพ (ฝึกใช้เทคนิค “5-Why” หรือถามว่า ทำไม 5 ครั้ง)
- อันดับแรกเขียนหัวเรื่อง ซึ่ง ณ ที่นี้ มักเป็น “ประเด็นปัญหา” จากนั้นแบ่งพื้นที่หน้ากระดาษเป็น 3 ส่วนเช่นเดิม โดยพื้นที่ด้านขวาหรือพื้นที่สรุป ของสมุดโน้ตเพื่อเผด็จศึกนี้ ข้อสรุปจะอยู่ในรูปของ “แนวทางปฏิบัติ”
- เขียนสิ่งที่ต้องการจะสื่อหรือ “ข้อสรุป” สั้น ๆ เอาไว้ที่หัวเรื่อง โดย less is more หรือเขียนแค่ 1 เรื่องเท่านั้น ซึ่งทางที่ดีจริง ๆ ควรเริ่มเขียนจากข้อสรุปก่อนเป็นอันดับแรก
การวาดแผนภูมิประกอบเพื่อการนำเสนอ
- แผนภูมิเปรียบเทียบก่อนหลัง
- ใช้นำเสนอเกี่ยวกับความแตกต่าง
- กำหนด point ที่จะเปรียบเทียบไว้คอลัมน์ซ้ายสุด ตามด้วย before กับ after ตามลำดับ โดยวาดลูกศรหนา ๆ ทึบ ๆ คั่นระหว่าง before กับ after จากนั้นวาดลูกศรทรงสามเหลี่ยมทึบชี้ไปพื้นที่ด้านขวาเพื่อเขียนหาข้อสรุป
- แผนภูมิน้ำตกหรือแผนภูมิขั้นบันได
- เหมาะกับข้อมูลจำพวกเช่นรายงานงบการเงิน
- เริ่มจากวาดกราฟแท่งแสดงตัวเลข before ไว้ริมซ้ายสุด และแท่งตัวเลข after ไว้ริมขวาสุด จากนั้นวาดแท่งต่าง ๆ ประมาณ 3 ขั้นไว้ระหว่างกลางเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในขั้นต่าง ๆ จากนั้นวาดลูกศรทรงสามเหลี่ยมทึบชี้ไปพื้นที่ด้านขวาเพื่อเขียนหาข้อสรุป
- แผนภูมิพีระมิด
- เหมาะกับข้อมูลแสดงวิสัยทัศน์ กำหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ฯลฯ
- เขียนเป้าหมายไว้ชั้นบนสุด และชั้นกลางให้เขียน main ideas 3 ข้อที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนชั้นล่างสุดเขียนแนวทางปฏิบัติที่ควรทำ
- แผนภูมิแบบตึก
- เหมาะกับข้อมูลที่ไม่สม่ำเสมอหรือแตกต่างกันมากอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ยอดขายที่ลดลงฮวบ 90%
- การวาดกราฟแท่งสองแท่งที่ความสูงต่างกันเทียบกันจะเห็นความแตกต่างชัดเจน และควรเขียนคำอธิบายหรือวาดกราฟแท่งคู่หรือแผนภูมิแบบตึกอีกชุดไว้ที่พื้นที่ด้านขวาเพื่อการอธิบายด้วย
สุดท้าย ตอนนี้เราอาจจะกำลังเริ่มเขียนอนาคตลงในหน้าแรกของสมุดกราฟ หรือพูดง่าย ๆ คือ อนาคตของเราอาจเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นจากหน้าแรกของสมุดกราฟที่เรากำลังจะใช้เขียนในวันนี้ก็เป็นได้
📌 พิกัดหนังสือ ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุดถึงใช้สมุดกราฟ: https://s.shopee.co.th/10lmU0LhLd