บล็อกนี้เป็นบล็อกที่เราจะขอแนะนำเทคนิคการเขียน essay ตามโครงสร้างที่ถูกต้อง และเน้นย้ำสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจในแต่ละย่อหน้าอย่างถี่ถ้วน ที่จะทำให้การขึ้นต้นและการจบ essay ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
โดยโครงสร้างต่อไปนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้เขียนได้จริงกับทุก essay และเป็นพื้นฐานการเขียน essay ที่สามารถเอาไป adapt ใช้ได้กับการเขียน essay ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นประเภท cause and effect essay, comparison and contrast essay, หรือ argumentary essay (แต่ละประเภท จะมี pattern ยิบย่อยต่างกันไป)
การเขียน Essay ควรมีการวางแผนการเขียน หรือมี outline ที่ดี ก่อนจะลงมือเขียนจริงเสมอ โดยเราต้องค่อยๆ ตีโจทย์ให้แตก และระดมความคิดของตัวเอง (brainstorming) อย่างรอบคอบ ว่าจะ organise อย่างไรให้ essay มีประสิทธิภาพ ถ้าเรายอมเสียเวลาทำ outline ให้ออกมาดีๆ มันจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะจะช่วยให้เราเขียนจริงได้เร็วขึ้น และทำให้ essay ประสบความสำเร็จมากกว่า essay ที่ปราศจากการวางโครง
ดูคอร์สเรียน Essay Writing กับพี่ขวัญ >>> คลิก!!!
โครงของ Essay โดยทั่วไป ขั้นต่ำต้องมี 3 paragraphs ได้แก่ introduction, body, และ conclusion ซึ่งทุกๆ ย่อหน้านั้น ก็จะมีความสำคัญ และมีส่วนประกอบต่างๆ ของแต่ละย่อหน้า ดังต่อไปนี้
1. Introductory Paragraph
1.1 ถ้าเป็นไปได้ เริ่มจาก hook หรือประโยคเก๋ๆ ที่น่าจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้มาติดเบ็ดและอยากอ่าน essay ต่อ แต่ถ้าคิดไม่ออก ก็ไม่ต้องดั้นด้นพยายามมีก็ได้
1.2 บรรยาย background information ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพื่อปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจให้กับผู้อ่าน โดยเวลาเขียน background information นี้ ให้เริ่มจากเรื่องที่กว้างๆ (หรือ general) ที่สุดก่อน แล้วค่อยๆ บีบให้แคบลงๆ (more specific) ในประโยคถัดๆ มา
1.3 จนมาถึงประโยคสุดท้ายของ introduction จะเป็นประโยคที่แคบที่สุดในย่อหน้า แต่เป็นประโยคสำคัญที่สุด เพราะจะครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมดใน body paragraphs และเป็นประโยคหลักๆ ที่ผู้ตรวจจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ ดังนั้นเราต้องเขียนประโยคนี้ให้ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาของเราที่สุด เราเรียกประโยคนี้ว่า thesis statement ซึ่งวิธีการทำ thesis statement นั้นง่ายนิดเดียว ถ้าคิดไรไม่ออก ก็ paraphrase เอาจาก topic หรือจาก question หรือโจทย์ที่เขาถามนั่นเลยจ้า
*โดยสรุป โครงสร้างของ intro paragraph จะเริ่มจากกว้างสุดมาแคบสุด (นั่นก็คือ thesis statement ซึ่งสำคัญสุดๆ) ถ้าให้วาดภาพประกอบย่อหน้านี้ก็คงมีหน้าตาเหมือนสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมคางหมูหัวกลับ หรือจะนึกถึงทรงของกระเป๋ายี่ห้อ Céline รุ่น Trapeze สุดฮิตของสาวๆ นั่นก็คือๆ กันจ้า
2. Body Paragraph
ถ้าเปรียบ essay เป็น burger หรือ sandwich ล่ะก็ ส่วนของ body ซึ่งเป็นส่วนเนื้อหาสำคัญของ essay ก็คงเปรียบเสมือนไส้ในของ burger/sandwich ซึ่งต้องเปรียบไปด้วยสารอาหารจำพวกโปรตีน เนื้อ ปลา ไข่ และผักสดๆ ที่มีขนมปังประกบบน (introduction) ประกบล่าง (conclusion) โดยไส้นั้นจะมีกี่ไส้หรือกี่ชั้นก็ได้
แต่ไม่ว่า body จะมีสักกี่ย่อหน้า แต่ละย่อหน้ามักต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญเหมือนๆ กัน นั่นก็คือ…
2.1 Topic Sentence ซึ่งเป็นประโยคที่ support ประโยค thesis statement ของย่อหน้านำ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่สำคัญมากๆ อีกอย่างคือเป็นประโยคที่บรรจุ main ideas ทั้งหมดใน body ย่อหน้านั้นๆ ของมัน โดยส่วนใหญ่ topic sentence จะอยู่ประโยคแรกของย่อหน้า (แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป)
– แต่ละ body ต้องมี 1 topic sentence
– แต่ละ topic sentence ประกอบไปด้วยสองส่วน ได้แก่ topic และ controlling idea
– controlling idea จะต้องไม่กว้างเกินไป และไม่แคบเกินไป
2.2 Supporting Sentences เป็นเหตุผลหรือตัวอย่างที่ support ประโยค topic sentence ของย่อหน้านั้นๆ
– แต่ละ topic sentence จะมี supporting sentence เท่าไหร่ก็ได้ตามความเหมาะสม แต่ควรมีอย่างน้อย 2 major supporting ideas
– แต่ละ major supporting idea ควรมี minor supporting idea โดยแต่ละอันจะมีกี่อันก็ได้ ไม่จำกัดปริมาณ เน้นแต่คุณภาพ
– Essay ที่เขียนด้นสดในห้องสอบ (ที่ research ไม่ได้) ผู้ตรวจไม่คาดหวังว่าผู้เขียนต้องมีเหตุผลที่ academic จ๋าหรือเป๊ะๆ แบบพวก expert ในสาขานั้นๆ แต่คาดหวังให้ผู้เขียนใส่ตัวอย่างหรือประสบการณ์ส่วนตัวลงไป support มากกว่า ดังนั้น การยกตัวอย่างจากเรื่องของตัวเองเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยปั๊มคะแนนได้ (สามารถเมคอัพหรือมโนเรื่องขึ้นมาเองได้ เขาไม่รู้หรอก…)
นอกจากนี้ เนื้อหาที่เอามา support จะต้องวาง order ให้เหมาะสม เช่น จะเริ่มจากเรื่องที่สำคัญน้อยสุดไปมากสุด หรือจะเริ่มจากพีคสุดไปมากพีคน้อยสุด หรือจะเรียงตามลำดับของเวลา ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของบริบทที่เขียน ต้องใช้ตรรกะพิจารณาเอง
ที่สำคัญ สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามในการเขียน essay คือความเป็นเอกภาพ (unity) ของเนื้อหาแต่ละย่อหน้าที่ตัวเองเขียน ทางที่ดีคือ ไม่ว่าจะมีกี่ย่อหน้า ผู้เขียนต้องพยายามเชื่อมแต่ละย่อหน้านั้นถักทอร้อยเรียงให้เหมือนผ้าผืนเดียวกันให้มากที่สุด โดยใส่ transitional words และวิธีต่างๆ ลงไปใน essay ด้วย
หรือถ้าเปรียบเทียบเป็นของกินอีก ก็คิดง่ายๆ ว่า การใส่คำเชื่อมก็เหมือนการใส่ซอส มายองเนส ครีมสลัด หรือมัสตาร์ดเชื่อมให้การประกบของเนื้อและขนมปังแต่ละชั้นนั่นแหละ
3. Conclusive Paragraph
Essay หลายแผ่นตายตอนจบเพราะเขียนย่อหน้าสรุปเละตุ้มเป๊ะ เพราะคิดจะเขียนอะไรก็เขียน ไร้ซึ่งหลักการหรือแบบแผน สักแต่ใส่ประโยคสวยๆ ให้จบแบบตรึงตาตรึงใจผู้อ่าน หารู้ไม่ว่า วิธีที่คิดว่าสวยหรูเหล่านั้น นอกจากจะยากแล้ว ยังอาจจะทำให้ essay เหมือนยังไม่จบ สรุปเป็นอันว่าพัง
ย่อหน้าสรุปที่ง่าย กะทัดรัด และได้ใจความ ประกอบไปด้วย…
3.1 (เปิดด้วยคำเชื่อมก่อนนะ เช่น In conclusion,) เริ่มด้วยการ restate (กล่าวซ้ำ) ประโยค thesis statement (ที่อยู่ในย่อหน้าเกริ่นนำ) อีกครั้ง โดยคงสาระคล้ายๆ เดิม แต่ใช้ different words
3.2 sum up ประเด็นสาระสำคัญต่างๆ หรือ main ideas ที่เขียนไปใน body แต่ละ body อีกครั้ง แบบสั้นๆ กะทัดรัด ซึ่งอาจจะยกมาแต่ keywords ก็ได้ แต่ต้องพยายามใช้ different words จากเดิมเช่นกันนะ ควรละการใช้คำซ้ำให้มากที่สุด
3.3 จบประโยคสวยๆ ประโยคสุดท้ายด้วย personal thought ซึ่งอาจจะเป็นการ predict หรือแนะนำ solution เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนไปทั้งหมดนั้นก็ได้ หรือจะยก quote คำพูดของคนดังมาใส่เก๋ๆ ก็ได้ แต่ไม่ว่าจะจบยังไง ก็ต้องระวังว่าประโยคที่กำลังจะเขียนนั้น “เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง” จริงหรือไม่ และประโยคนั้นเป็นการขมวดปมเงื่อนให้ปิดแน่นหรือเป็นประโยคที่ทำให้เรื่อง “ยังเหมือนไม่จบ”
ถ้าให้วาดเป็นภาพประกอบอีก ย่อหน้าสรุปก็เหมือนตรงข้ามจากย่อหน้าเปิด ตรงที่ย่อหน้าแรก เราเขียนจากกว้างไปแคบ แต่ย่อหน้าจบ เราเขียนจากแคบไปกว้าง เหมือนรูปสามเหลี่ยมหรือรูปสี่เหลี่ยมคางหมูทั่วไป
นอกจากนี้ essay แต่ละแผ่น หรือแต่ละ topic ที่คุณเขียน ควรมีการ rewrite มากกว่า 1 draft ไม่ใช่ว่าพอเขียนครั้งเดียว ได้รับการตรวจหรือ comment แล้วก็จบไปนะคะ คุณควรเอาของเก่าไปเขียนเป็น draft 2 หรือ draft 3 ต่อไปด้วย
สุดท้ายนี้ เราอยากจะบอกว่า สิ่งที่เราแนะนำเป็นเพียงพื้นฐานเบสิคๆ เท่านั้น เทคนิคทั้งหลายและ skill ต่างๆ ไม่ว่าจะยังไง ก็ต้องอาศัยการฝึกฝนและการพัฒนาการเขียนที่สม่ำเสมอ
ซึ่งถ้าจะให้แนะนำเพิ่มเติมอีกสักหน่อยทิ้งท้าย เราก็คงขอแนะนำว่า ก่อนคุณจะเริ่มต้นเขียน essay ใดๆ สักแผ่น คุณควรอ่านให้มากพอก่อนจะเขียน และพออ่านอะไรจบก็ตาม ให้ลองเขียน summary (สรุปย่อ จำนวนคำจะน้อยกว่าต้นฉบับประมาณ 1/3 แต่ยังคงเนื้อหาสาระสำคัญครบ) หรือเขียน paraphrase (คล้ายๆ การ rewrite สิ่งที่อ่าน เป็นภาษาของเราเอง โดยสาระสำคัญและจำนวนคำจะประมาณเดิมของต้นฉบับ เพราะไม่ใช่การสรุปย่อ) สิ่งที่อ่านนั้นด้วยตัวเองก่อน เพื่อเป็นการฝึกเขียนเบื้องต้น ก่อนจะคิดเริ่มเขียน essay ยาวๆ ของตัวเองอย่างจริงจังต่อไป
-
ดูคอร์สเรียน essay กับพี่ขวัญ >>> คลิก!
70 comments
Thank you so much.
Thank you for your knowledge that provide for us
thank you very much. It extremely benefit for me
Thank you but i want one explem